องค์กรแห่งความยั่งยืนจากฐานหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการทั่วทั้งองค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงระดับของการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำให้องค์กรไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร (2) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ขององค์กรที่ยั่งยืน (3) เพื่อทดสอบความสอดคล้ององโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ขององค์กรที่ยั่งยืน ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปที่ประกอบด้วยคำถามทั่วไปและคำถามที่เกี่ยวกับนโยบายแผนงานโครงสร้างการบริหารงานองค์กรและความคิดเห็นเกี่ยวกับความยั่งยืนขององค์กรโดยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นผลการวิจัยพบว่า การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรได้รับอิทธิพลทางตรงจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( = 0.88) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่องค์กรสู่ความยั่งยืนได้รับอิทธิพลจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง( = 0.79) การจัดคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ( = 0.43) ตามลำดับ
ทุกเส้นมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เกิดจากตัวแปรสังเกตได้ของเครือเจริญโภคภัณฑ์พบว่าเกิดจาก ความพอเพียง ( = 0.50) ความมีเหตุผล ( = 0.50) การมีความรู้ (= 0.39) และการมีคุณธรรม( = 0.37) ตามลำดับ
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรที่เกิดจากตัวแปรสังเกตได้ ของเครือเจริญโภคภัณฑ์พบว่าเกิดจาก การแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพ ( = 0.55) การควบคุมคุณภาพ ( = 0.54) การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล ( = 0.51) การดำเนินการ ( = 0.48) และการวางแผนคุณภาพ ( = 0.42) ตามลำดับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงองค์กรสู่ความยั่งยืน ที่เกิดจากตัวแปรสังเกตได้ของเครือเจริญโภคภัณฑ์พบว่าเกิดจาก ปัจจัยด้าน สิงแวดล้อม ( = 0.51) สังคม ( = 0.49) และ เศรษฐกิจ ( = 0.48) ตามลำดับ
* ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ดร.พิชญะ อุทัยรัตน์ และ ดร.ชัยพร ธนถาวรลาภ
Corresponding author : chuthapornt@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์. (2554). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ. เอกสารวิชาการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณดา จันทร์สม. (2554). เศรษฐกิจพอเพียงกับการปฏิรูปธุรกิจ” เอกสารวิชาการในโครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือเพื่อการพัฒนาที่สมดุลยั่งยืน ระยะที่ 2. ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). ผลประกอบการเจริญโภคฑัณฑ์อาหาร. ค้นวันที่ 30 สิงหาคม 2556. จาก https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=CPF&language=th&country=TH.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ผลการดำเนินงานของระบบธนาคาร พาณิชย์สำหรับปี 2556 ฉบับที่ 6/2556. ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักสื่อสารสัมพันธ์ฝ่ายสนับสนุนการบริหาร. ค้นวันที่ 18 สิงหาคม 2556. จาก https://www.bot.or.th.
เมธา สุวรรณสาร. (2540).การจัดระบบควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงิน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานวิทยา.
สิทธิเดช นิลสัมฤทธิ์ และ มนตรี เกิดมีมูล. (2550). รายงานการวิจัยการดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ .กรุงเทพมหานคร : มิชชั่น มีเดีย.
Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York : Harper and Row.