กลวิธีการปรับบทแปลทางการแพทยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 (COVID-19) จากภาษาจีนเปนภาษาไทย ในซีรีสจีนเรื่อง With You
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการปรับบทแปลทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) จากภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยวิเคราะห์คำบรรยายภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในซีรีส์จีนเรื่อง With You เฉพาะตอนที่ 1 จากแอปพลิเคชัน WeTV และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้แปลได้ใช้กลวิธีการปรับบทแปลตามประเภทการแปลของ Newmark (1988) ทั้ง 8 แบบ โดยกลวิธีที่ใช้มากที่สุดคือ การแปลรักษารูปรักษาความ (Faithful translation) คิดเป็นร้อยละ 37.87 การแปลสื่อความ (Communicative translation) คิดเป็นร้อยละ 21.21 การแปลตรงตัว (Literal translation) คิดเป็นร้อยละ 15.15 และการแปลครบความ (Semantic translation) คิดเป็นร้อยละ 10.60 นอกจากนี้แล้วยังพบว่าในประโยคเดียวกัน ผู้แปลใช้กลวิธีการแปลมากกว่าหนึ่งกลวิธี โดยพบการใช้กลวิธีการขยายความหรือเติมคำ การละคำหรือละความ การถ่ายโอน การเทียบคู่ความสุภาพ และการทับศัพท์ร่วมกัน เช่น มีการใช้กลวิธีการแปลรักษารูปรักษาความร่วมกับการละคำ หรือมีการใช้กลวิธีการแปลแบบสื่อความร่วมกับการขยายความ เป็นต้น ทำให้ทราบว่า การเลือกใช้คำในการแปลทางการแพทย์ ต้องศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างคำศัพท์และทำความเข้าใจความหมายของคำและประโยค ต้องเลือกใช้ความหมายให้ถูกต้อง เหมาะสมกับบริบท และควรสืบค้นคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ในวงการแพทย์ว่าใช้อย่างไร เพื่อสื่อความได้ตรงและถูกต้องกับข้อมูลมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร นุ่มทอง. (2563). ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย. ภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กนกพร นุ่มทอง และศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2019). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2). 105-151.
จิน หยุนเจีย , ศรชัย มุ่งไธสง และณัฏฐพล สันธิ. (2561). การวิเคราะห์กลวิธีการแปลบทภาพยนตร์จากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง The Empresses in the Palace (ราชวงศ์เฉินฮ่วน). วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 11(1), 135-140.
โชติกา เศรษฐธัญการ และอัญชลี วงศ์วัฒนา. (2565). กลวิธีการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 91-107.
ทิพย์สุดา ธีระเจตกูล และวริษา อัศวรัตน์. (2022). แนวทางการแปลคำศัพท์ทางการแพทย์จากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(2), 227-236.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2548). พจนานุกรมจีน-ไทย. บริษัท รวมสาส์น (1977) จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 14.
นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส. (2563). การศึกษาปัญหาเสรีภาพในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในไดอารี่ล็อกดาวน์
อู่ฮั่น. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 13(2), 177.
นริศา อาจอ่อนศรี และคณะ. (2022). แนวปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น หลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด: บทบาทพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 37(2), 5-19.
พงษ์ศักดิ์ อันประเสริฐ และกนกพร นุ่มทอง. (2559). การประยุกต์ใช้หลักการแปลกับการแปลงานวิศวกรรมเรือจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(1), 105-151.
แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอนที่ ๑ โรคโควิด-19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา
การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ. 1-16.
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (n.d.). หน่วยงานบริการไวรัส (Virology Laboratory). https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/microbiology
/micro_vi_edit61.asp (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
มนฤทัย เด่นดวง. (2560). การส่องกล้องหลอดลม (bronchoscopy) และบทบาทของบุคลากรผู้ช่วยแพทย์. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต, 36(3). 85-92.
วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2552). ทฤษฎีและหลักการแปล. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกันยา โกยทรัพย์สิน. (2564). ลักษณะภาพถ่ายรังสีปอดของผู้ป่วย Covid-19 ในโรงพยาบาลป่าตอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(เพิ่มเติม 1), 26-32.
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. (n.d.). โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (SEVERE ACUTE RESPIRATORY SYNDROME; SARS). https://www.pidst.or.th/A227.html (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
สัญฉวี สายบัว. (2550). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14(2), 124-126.
หรรษมน โพธิ์ผ่าน. (10 ตุลาคม 2566). เม็ดเลือดขาวต่ำเกิดจากอะไร. สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. http://tsh.or.th/Knowledge/Details/83 (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
Bangkok hospital Siriroj. (n.d.). โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ. https://www.phuketinternationalhospital.com (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
BNS Hospital. (n.d.). Precision Medicine "กุญแจสำคัญ สู่สุขภาพดีที่ยั่งยืน". https://www.bnhhospital.com/th/genomics-screening (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
Bumrungrad International hospital. (n.d.). โรคปอดอักเสบ. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/pneumonitis (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
health2click. (21 October 2019). ระบบหายใจ (Respiratory system). https://www.health2click.com/2019/10/21 (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566)
Li, X., Luk, H., Lau, S., & Woo, P. (2019). Human coronavirus : General features. Biomedical Sciences. doi: 10.1016/B978-0-12-801238-3.95704.0.
Newmark. (1988). A Textbook of Translation. Prentice Hall International (UK) Ltd.
Nida, E. A., & Taber, C. R. (1982). The Theory and Practice of Translation (Second Photomechanical reprint). Leiden E.J. Brill: The United Bible Society.
丁卫民 , 岳文涛 and傅瑜. (2010). 支气管肺泡灌洗在肺癌诊断方面 的研究现状及展望 . 中国肺癌杂志,13(4). 370-374
林生趣. (2005). 英汉·汉英医学搭配词典.北京:化学工业出版社, 7
聂志扬. (1 March 2024). 氧饱正常值是多少. https://www.miaoshou.net/article/qwdobkYb3VRn941N.html (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567)
武汉市卫生健康委员会 Wuhan Municipal Health Commission (n.d.) https://wjw.wuhan.gov.cn/ztzl_28/fk/jkkp/202007/t20200709_1398895.shtml?fbclid=IwAR3qJ-uTYzjov6b-OgYZu3gvyrlyih25i5LcA4TO9htPg2MYoJYqE2uQPMQ (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566)
赵悦,王瑞 and 陈海泉. (2016). 肺部磨玻璃影的诊断与治疗进展.中国肺癌杂志,19(11). 773-777