แนวคิดเรื่องผังตัวกระทำของ เอ. เจ. เกรมาส กับการประยุกต์ใช้ศึกษากวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย

Main Article Content

เสาวณิต จุลวงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาแนวคิดเรื่องผังตัวกระทำ (actantial model) ของ เอ. เจ.
เกรมาส นักภาษาศาสตร์และนักสัญศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์กวีนิพนธ์ไทย
ร่วมสมัย เกรมาสเชื่อว่าเรื่องเล่าทั้งหลายมีโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ภายใต้ เขาจึงพัฒนาความคิดและแนวทางค้นหาโครงสร้างเรื่องเล่า (narrative structure) ขึ้น เรียกว่าผังตัวกระทำ โครงสร้างผังตัวกระทำนี้ประกอบด้วย
ตัวกระทำ (actant)  6 ตัว ได้แก่ ตัวประธาน ตัวเป้าหมาย ตัวผู้ให้ ตัวผู้รับ ตัวสนับสนุน และตัวอุปสรรค โดยทั่วไปแนวคิดเรื่องผังตัวกระทำมักนิยมใช้ศึกษาเรื่องเล่าในเรื่องแต่งบันเทิงคดี ทว่าบทความนี้เสนอว่าแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ศึกษากวีนิพนธ์ได้ โดยการศึกษาพบว่าการวิเคราะห์ตัวกระทำใน
กวีนิพนธ์ไทยมีกระบวนการ 3 ขั้น ขั้นแรกคือการแปรบทกวีเป็นเรื่องเล่า (narrative)  ขั้นที่สองคือการแปรเรื่องเล่าเป็นข้อความเรื่องเล่า (narrative discourse) และขั้นที่สามคือการวิเคราะห์ตัวกระทำของข้อความเรื่องเล่า


ทั้งนี้มีข้อสังเกตคือแนวคิดเรื่องผังตัวกระทำที่มักใช้ในการวิเคราะห์เรื่องเล่าที่มีเหตุการณ์และ
ตัวละคร การนำมาวิเคราะห์กวีนิพนธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทพรรณนาความคิดและอารมณ์ความรู้สึกจึงมีข้อจำกัด กระบวนการถอดความและวิเคราะห์ข้อความเรื่องเล่าจึงควรทำอย่างแม่นยำประณีต และอีกประการหนึ่งคือ การศึกษาบทกวีจำนวนมากอาจทำให้สามารถค้นหาโครงสร้างเรื่องเล่าของกวีนิพนธ์ไทยบางกลุ่มได้ ซึ่งทำให้เห็นความคิดร่วมกันซึ่งกำกับการสร้างสรรค์เนื้อหากวีนิพนธ์ไทย

Article Details

How to Cite
จุลวงศ์ เ. (2024). แนวคิดเรื่องผังตัวกระทำของ เอ. เจ. เกรมาส กับการประยุกต์ใช้ศึกษากวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25(3), 118–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/273100
บท
บทความวิจัย

References

กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย : วิเคราะห์และสรรนิพนธ์. (2544). ศยาม.

กำชัย ทองหล่อ. (2530). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). บำรุงสาส์น.

โชคชัย บัณฑิต’. (2554). บ้านเก่า (พิมพ์ครั้งที่ 8). ภาพพิมพ์.

ดวงมน จิตร์จำนง, ยุรฉัตร บุญสนิท, โชษิตา มณีใส, วีรวัฒน์ อินทรพร, กอบกาญจน์ ภิญโญมารค และ วิมลมาศ ปฤชากุล. (2555). การวิจารณ์บนเส้นทางวรรณคดีศึกษา. อินทนิล.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด (เล่ม 1). อ่าน และ วิภาษา.

กอบกาญจน์ ภิญโญมารค. (2547). ทฤษฎีวรรณกรรมแนวรื้อสร้าง: “รื้อ” เพื่อสร้างหรือทำลาย. รูสะมิแล, 25(2), 53-58.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2545). อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

นัทธนัย ประสานนาม และ ธีระ รุ่งธีระ. (2557). เพื่อก้าวข้ามสะพานที่พาดข้าม: การศึกษารวบรวมบทคัดย่อและบรรณานุกรมงานวิจัยด้านวรรณกรรมไทยร่วมสมัย. ภาควิชาวรรณคดี และคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2526). เพลงขลุ่ยผิว. ปลาตะเพียน.

ฟาริส โยธาสมุทร. (2554). ชาติกับความสามัคคี : ความย้อนแย้งในเรื่อง “นายขนมต้ม”. วิภาษา, 5(3), 34-41.

ฟาริส โยธาสมุทร. (2556). โครงสร้างของนิทานในวรรณคดีร้อยกรองสมัยอยุธยา. [วิทยานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

’รูญ ระโนด. (2533). ทะเลดาว. ประภาคาร.

วรุณี อุดมศิลป์. (2552). พื้นที่แห่งอิตถีเพศในเรื่องของจัน ดารา. ใน เกษม เพ็ญภินันท์ (บรรณาธิการ), ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในมนุษยศาสตร์ (น. 126-138). วิภาษา.

อังคาร กัลยาณพงศ์. (2507). กวีนิพนธ์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2511). หลักภาษาไทย. ไทยวัฒนาพานิช (แผนกการพิมพ์).

Baldick, Chris. (1991). The concise Oxford dictionary of literary terms. Oxford University Press.

Currie, Mark. (1998). Postmodern narrative theory. Palgrave.

Greimas, A. J. (1971). Narrative grammar: units and levels. MLN, 86(6), pp. 793-806. https://www.jstor.org/stable/2907443

Greimas, A. J. and Porter, Catherine(trans.). (1977). Elements of a narrative grammar. Diacritics, 7(1), pp. 23-40. https://www.jstor.org/stable/464872

Greimas, A. J. (1984). Structural semantics: an attempt at a method. University of Nebraska Press.

Harsono, Siswo. (2009). An Actantial Analysis on Lee’s Poem. E-Criticism. http://e-creativecriticism.blogspot.com/2009/02/actantial-analysis-on-lees-poem.html

Hawkes, Terence. (1977). Structuralism and Semiotics. Mcthuen.

Rizal, Sarif Syamsu. (2019). Actantial models in The Owl and the Pussy-cat: a narrative scheme on poem. ResearchGate. https://www.researchgate.net/publication/345966935_Actantial_Models_in_the_Owl_and_the_Pussy-cat_A_Narrative_Scheme_on_Poem

Smeets, Roel, De Pourcq, Maarten and van den Bosch, Antal. (2021). Modeling Conflict: Representation of Social Groups in Present-Day Dutch Literature. Journal of Cultural Analytics, 6(2021), 1-31. https://culturalanalytics.org/article/24722-modeling-conflict-representations-of-social-groups-in-present-day-dutch-literature