The construction of Lanna identities through songs in mainstream media and contemporary media

Main Article Content

Kittiya Moonsarn

Abstract

เพลงล้านนาหรือเพลงภาษาคำเมืองในอดีตอยู่ภายใต้อิทธิพลของสื่อกระแสหลัก เนื่องจากถูกผลิตโดยค่ายเพลงหรือบริษัทที่มาจากส่วนกลางหรือกรุงเทพมหานคร รวมถึงศิลปินท้องถิ่นเองก็ได้รับอิทธิพลจากสื่อกระแสหลักเช่นกัน เพลงเหล่านี้ได้ผลิตภาพจำและส่งผลต่อการรับรู้อัตลักษณ์ล้านนา ในปัจจุบันสื่อและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงได้เปิดโอกาสให้ศิลปินท้องถิ่นสร้างและต่อรองอัตลักษณ์ล้านนาในรูปแบบอื่น ๆ งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องการสร้างอัตลักษณ์ล้านนาผ่านเพลงในสื่อกระแสหลักและสื่อร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสร้างอัตลักษณ์ล้านนาในบทเพลงที่ผลิตโดยสื่อกระแสหลักหรือศิลปินล้านนาที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของสื่อกระแสหลัก และบทเพลงของศิลปินล้านนาที่เป็นคนท้องถิ่นและเผยแพร่ผ่านสื่อร่วมสมัย เพื่อเปรียบเทียบอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาทั้งสองแบบว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร และ
ความแตกต่างนั้นสะท้อนการต่อรองทางวัฒนธรรมอย่างไร โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อเพลงและมิวสิควิดีโอใน 3 ประเด็นได้แก่ ได้แก่ ด้านเพศสภาพ ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมและสังคมชนบท และด้านประวัติศาสตร์และความทรงจำ ผลการวิจัยพบว่าแม้ศิลปินจะยังได้รับอิทธิพลของแนวคิดสื่อกระแสหลักแต่ก็มีการต่อรองอัตลักษณ์ ภาพของผู้หญิงล้านนามีทั้งผู้หญิงพื้นเมืองในอุดมคติและมีทั้งภาพของผู้หญิงสมัยใหม่ ภาพของชนบทสะท้อนฉากในชีวิตประจำวันมากกว่าการนำเสนอวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือการท่องเที่ยว รวมถึงไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยมและความเป็นสมัยใหม่ และเริ่มมีการใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสยามหรือเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทยมาเป็นส่วนหนึ่งในเพลง

Article Details

How to Cite
Moonsarn, K. (2024). The construction of Lanna identities through songs in mainstream media and contemporary media. Chiang Mai University Journal of Humanities, 25(3), 60–93. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/272872
Section
Research Articles

References

เกสร ยอดแก้ว. (2560). อัตลักษณ์ของคนล้านนาจากบทเพลงลูกทุ่งคำเมืองที่ขับร้องโดย อบเชย เวียงพิงค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่].

คมชัดลึกออนไลน์. (20 สิงหาคม 2553). บุญศรี รัตนัง โล่งอก ลูกสาวสืบสายเลือดล้านนา. Komchadluek. https://www.komchadluek.net/entertainment/70431

จิราพร ขุนศรี. (2559). การต่อรองอำนาจของวัฒนธรรมท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์สื่อ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11 (ฉบับพิเศษ มกราคม-มิถุนายน), 29-43.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2563). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต (พิมพ์ครั้งที่ 8). สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์. (2560). อุตสาหกรรมเพลงไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 157-167.

ดารุณี สมศรี. (2549). การสร้างภาพลักษณ์ความงามของเชียงใหม่ พ.ศ.2464-2500. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ตติยา สายบัวพัตร์. (2555). เพลงโฟล์คซองคำเมืองของสุนทรี เวชานนท์. พิฆเนศวร์สาร, 8(1), 17-24.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. สำนักพิมพ์อ่าน.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2559). โฉมหน้าราชาชาตินิยม. ฟ้าเดียวกัน.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2560). คนไทย/คนอื่น. ฟ้าเดียวกัน.

นัทธนัย ประสานนาม. (2561). หลวงวิจิตรวาทการกับนิยายโรมานซ์แนวจักรวรรดินิยม. โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2559). เปิดแผนยึดล้านนา. มติชน.

เบเคอร์, คริส และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. มติชน.

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย และ ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2563). อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่. วารสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 9(1), 29-46.

ประกายกาวิล ศรีจินดา, สุปราณี วัฒนสิน และ มณฑิตา ครุผาด. (2563). การสื่อสารวัฒนธรรมอีสานในภาพยนตร์ “ไทบ้าน เดอะซีรีส์”. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(1),

-88.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กองทุนอินทร์-สมเพื่อการวิจัยทางมานุษยวิทยา.

พันธกานต์ ทานนท์. (2565). มิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งอีสานกับการสื่อสารอัตลักษณ์อีสานใหม่. วารสารศาสตร์, (พฤษภาคม-สิงหาคม), 252-318.

เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, พรนภา ธนโพธิวิรัตน์, ผกามาศ ชัยรัตน์ และ เกริกกิต ชัยรัตน์. (2563). วัฒนธรรมอีสานผ่านบทเพลงลูกทุ่งไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(3), 140-156.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (7 ตุลาคม 2565). ล้านนาป็อป แต่ไม่ป็อปอย่างที่คิดกัน: ว่าด้วยอาหาร ดนตรี และพลังทางวัฒนธรรมแบบ ‘เหนือๆ’ ในสังคมไทย. The 101 World. https://www.the101.world/lanna-pop/

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล (บรรณาธิการ). (2563). TAT the Journey: The story based on true journey 60 ปี ททท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2559). โลกาภิวัตน์ ท้องถิ่นนิยม กับการโหยหาอดีต. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2(2), 1-15.

เรย์โนลด์ส, เครก เจ. (2565). เอกลักษณ์ไทยในยุคโลกาภิวัตน์. ใน ปรีดี หงส์สตัน (บ.ก.), จดหมายจากสุดขอบโลก คิดคำนึงถึงอดีตในปัจจุบัน (น. 329-375). สำนักพิมพ์ศยาม.

วินัย ปราบริปู. (2557). จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์-วัดหนองบัว. หอศิลป์ริมน่าน.

ศิลปวัฒนธรรม. (12 มีนาคม 2566). ค้นตัวตน หนานบัวผัน ศิลปินที่เชื่อว่าวาด “ปู่ม่าน-ย่าม่าน” ภาพ “กระซิบรัก” วัดภูมินทร์. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/art/article_64782

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2553). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สิริชญา คอนกรีต. (2560). กลวิธีทางภาษาในเพลงลูกทุ่งเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์และการเมืองเชิงวัฒนธรรมของคนอีสานพลัดถิ่น. Veridian E-Journal, 10(2), 1577-1594.

สุนทร คำยอด. (2559). “อุดมการณ์ล้านนานิยม” ในบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร. วารสารข่วงผญา, 11,

-30.

สุพลธัช เตชะบูรณะ. (2559). การเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวของธุรกิจเพลงไทยสากลในทศวรรษที่ 2520. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 3(2), 115-145.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2560). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในศตวรรษที่ 20. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ ลากุล. (2561). การศึกษาอัตลักษณ์ถิ่นเหนือและอีสานผ่านวรรณกรรมเพลง. วิวิธวรรณสาร, 2(2),

-80.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ. สำนักพิมพ์มติชน.

อิศเรศ แนวกันยา และลักษณา คล้ายแก้ว. (2563). การสื่อสารอัตลักษณ์วัยรุ่นผ่านมิวสิกวิดีโอเพลงฮิปฮอปที่ใช้ภาษาไทยท้องถิ่น. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 49-58.

อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน. (2561). การต่อรองความเป็นอีสานบนพื้นที่สื่อดิจิทัล: การเมืองเชิงอัตลักษณ์ของเน็ตไอดอลอีสาน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(1), 117-138.

MGR Online. (5 สิงหาคม 2554). “อ้อม รัตนัง” ม่วนแต้ๆ แม่สาวฮ้องกำเมือง. https://mgronline.com/live/detail/9540000096790

Sanook. (23 พฤศจิกายน 2565). กระซิบรักบันลือโลก "ปู่ม่านย่าม่าน" มงคลล้านนา ณ วัดภูมินทร์. https://www.sanook.com/horoscope/127389/

Baker, C. (2005). Afterword. In Baker, C. and Anderson B. (eds.) Pen and Sail Literature and History in Early Bangkok Including the History of Bangkok in the Chronicles of Ayuthaya (pp. 361-384). Silkworm Books.

Ferguson, N. (2004). Empire: How Britain made the modern world. Penguin Books.

Hewison, K. (2000). Resisting globalisation: a study of localism in Thailand. The Pacific Review. 13(2), 279-296.

Hewison, K. (2002). Responding to Economic crisis: Thailand’s Localism. In McCargo D. (ed.) Reforming Thai Politics (pp. 143-161). Copenhagen: NIAS Publishing.

Parker, R. D. (2015). How to interpret literature and critical theory for literary and cultural studies. (3rd ed.). Oxford University Press.

Pratt, M. L. (1992). Imperial eyes: Travel writing and transculturation. Routledge.

Shabanirad, E., & Marandi, S. M. (2015). Edward Said’s orientalism and the Representation of oriental Women in George Orwell’s Burmese Days. International Letters of Social and Humanistic Sciences. 60, 22-33.

Strate, S. (2015). The Lost Territories: Thailand’s History of National Humiliation. University of Hawaii Press.