การ ศึกษาความเชื่อที่สะท้อนจากสิ่งของตกทอดที่มีคุณค่า ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทและเรื่องราวของสิ่งของตกทอดในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดกาญจนบุรี และ 2) ศึกษาความเชื่อที่สะท้อนจากสิ่งของตกทอดในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดกาญจนบุรี เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีสิ่งของตกทอดใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง และอำเภอท่ามะกา พบทั้งหมด 16 คน มีสิ่งของตกทอดรวม 41 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีสิ่งของตกทอดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ซึ่งอยู่ในครอบครัวจีนแต้จิ๋ว รองลงมาคืออาชีพช่าง ซึ่งอยู่ในครอบครัวจีนแคะ การพูดสำเนียงภาษาจีนท้องถิ่นพบ 2 สำเนียง ส่วนใหญ่คือแต้จิ๋วและรองลงมาคือแคะ ปัจจุบันมีลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นส่วนน้อยที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นของบรรพบุรุษได้ และบางส่วนพูดได้เพียงคำพูดในชีวิตประจำวันทั่วไป 2) สิ่งของตกทอดที่พบแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ สิ่งของที่เกี่ยวกับเทพเจ้า สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ สิ่งของที่เกี่ยวกับพิธีสำคัญ และสิ่งของที่เกี่ยวกับการศึกษา แนวโน้มประเภทสิ่งของตกทอดของลูกหลานจีนแต้จิ๋วและจีนแคะมีทั้งที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ในส่วนที่คล้ายคลึงกันพบว่ามีความเชื่อและเรื่องราวของสิ่งของที่คล้ายกัน 3) ความเชื่อที่สะท้อนจากสิ่งของตกทอดในครอบครัวพบว่ามี 4 ประเด็น คือ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณจะทำให้ชีวิตก้าวหน้า การศึกษาจะสร้างพื้นฐานอนาคตที่ดี การบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นเรื่องสำคัญ ขยันทำงานและอย่าเอารัดเอาเปรียบคนอื่นชีวิตจะไม่ตกต่ำ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จี. วิลเลียม สกินเนอร์. (2529). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ [Chinese Society in Thailand: An Analytical History] (พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ, แปล) กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1957).
พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2565). ชาวจีนในไทยมาจากไหน เปิดประวัติการอพยพยุคแรกเริ่ม ถึงการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม. https://www.silpa- mag.com/history/ article_26173
สุชาวดี เกษมณี และวิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2554). อัตลักษณ์จีนในสังคมไทยจากวรรณกรรมไทย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หน้า 14-24). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Yuan Ma. (2561). ภาพสะท้อนสังคมของชาวไทยจีนในนวนิยายของประภัสสร เสวิกุล. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ 6(12), หน้า 1-12.