ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ: กรณีศึกษาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ต้องการตรวจสอบสถานะของสยามในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อเผชิญหน้ากับกระแสความเปลี่ยนแปลงจากโลกตะวันตกโดยเน้นไปที่ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ เหตุที่เลือกศึกษาศาสตร์ทั้งสองแขนงนี้เพราะเป็นองค์ความรู้ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์สุริยปราคา หว้ากอ พ.ศ. 2411 ซึ่งในประวัติศาสตร์กระแสหลักของรัฐไทยยกย่องเป็นเหตุการณ์สำคัญที่บ่งบอกว่าสยามเกิดการเรียนรู้ดาราศาสตร์สมัยใหม่อย่างโดดเด่น โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างถึงผลพยากรณ์ตำแหน่งและเวลาเกิดคราสอันแม่นยำของรัชกาลที่ 4 อีกทั้งมีความทรงจำในสังคมไทยว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือชาติตะวันตก การวิจัยได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างนั้นในเชิงประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาโดยนำปัจจัยร่วมยุคสมัยมาพิจารณา กล่าวคือ แบบแผนการเผยแพร่วิทยาการของชาวยุโรป คณิตศาสตร์ในดาราศาสตร์ของยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19 การเปรียบเทียบบทบาทของมิชชันนารี และการวิเคราะห์ผลพวงในเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ ผลการวิจัยพบว่า วงการดาราศาสตร์ตะวันตกในศตวรรษที่ 19 สามารถเข้าถึงข้อค้นพบสำคัญที่เกี่ยวพันกับทฤษฎีคณิตศาสตร์ มีการประมวลเทคนิควิธีซึ่งนำไปสู่วิธีกำลังสองน้อยที่สุดซึ่งเป็นวิธีประมาณค่าที่ต้องการแม้ข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบอาจมีค่าคลาดเคลื่อนจากการสังเกตบันทึกและการวัด วิธีการนี้มีบทบาทสำคัญยิ่งในพัฒนาการของวิชาสถิติในศตรรษถัดไป อีกทั้งมีนักดาราศาสตร์ที่ติดตามศึกษาสุริยุปราคาเพื่อสังเกตปรากฏการณ์บนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงเคมีของดวงอาทิตย์ แต่คำอธิบายตามประวัติศาสตร์ไทยกลับมีภาวะหมกมุ่นเรื่องความแม่นยำโดยเน้นย้ำผลการคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาที่ถูกต้องจากฝ่ายไทยและมิได้ติดตามรับรู้ความเคลื่อนไหวเชิงวิทยาศาสตร์ในห้วงเวลานั้นอย่างจริงจัง การเปรียบเทียบความรู้ของฝ่ายไทยกับตะวันตกอยู่ภายใต้ประสบการณ์ที่ค่อนข้างจำกัดและโน้มเอียงไปในประเด็นที่เป็นด้านปฏิบัตินิยมเท่านั้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขาว เหมืองวงศ์. (2562). การพิสูจน์การทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน สิกขา สองคำชุม (บรรณาธิการ), พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ "ดาราศาสตร์" กับ "โหราศาสตร์" ในสังคมไทยสมัยใหม่ (น. 52-75). กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
เดอ วีเซ, เลอกงต์ ญัง ดอนโน. (2560). จดหมายเหตุโกศาปานไปฝรั่งเศส (ฟ. ฮีแลร์, ผู้แปล). นนทบุรี: ศรีปัญญา.
ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2561). หยดเลือด จารึก และแท่นพิมพ์: ว่าด้วยความรู้/ความจริงของชนชั้นนำสยาม พ.ศ. 2325-2411. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2562). เมื่อสยามพลิกผัน: ว่าด้วยกรอบมโนทัศน์พื้นฐานของสยามยุคใหม่. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช. (2548). นิทรรศการเอกสารพระเจ้ากรุงสยามและเซอร์จอห์น เบาว์ริง. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกัณฐิกา ศรีอุดม (บรรณาธิการ), พระเจ้ากรุงสยาม กับ เซอร์จอห์น เบาว์ริง (น. 2-43). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ประชุมพงศาวดารภาค 19 (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2463). [ม.ป.ท.]: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.
พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2560). คราสและควินิน: รื้อสร้าง 'ปากไก่และใบเรือ' ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
ภูธร ภูมะธน. (2545). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: จากความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน).
แมคนีล, เจ. อาร์. (2552). ประวัติศาสตร์มนุษย์ฉบับย่อ (คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มติชน.
ลอย ชุนพงษ์ทอง. (2562). ความลับของสุริยุปราคาที่หว้ากอ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411. ใน สิกขา สองคำชุม (บรรณาธิการ), พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ "ดาราศาสตร์" กับ "โหราศาสตร์" ในสังคมไทยสมัยใหม่ (น. 194 - 216). กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
วรพล ไม้สน. (2562). วิเคราะห์การคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จากเอกสารร่วมสมัย. ใน สิกขา สองคำชุม (บรรณาธิการ), พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ "ดาราศาสตร์" กับ "โหราศาสตร์" ในสังคมไทยสมัยใหม่ (น. 218 - 310). กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.
สาลิน วิรบุตร์. (2541). ดาราศาสตร์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ(บรรณาธิการ), เฉลิมพระเกียรติ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (น. 139 - 158). กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา-ประไพ อมาตยกุล.
เสรี พงศ์พันธุ์ภาณี. (2562). บทรีวิวหนังสือ พระจอมเกล้าฯ พยากรณ์: ความย้อนแย้งของ "ดาราศาสตร์" กับ "โหราศาสตร์" ในสังคมไทยสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2563, จาก https://www.illuminationseditions.com/article/24/บทรีวิวหนังสือ-พระจอมเกล้าฯพยากรณ์-ความย้อนแย้งของ-"ดาราศาสตร์"-กับ-"โหราศาสตร"-ในสังคมไทยสมัยใหม่
Adams, W. J. (2009). The Life and Times of the Central Limit Theorem (2nd ed.). Providence, R.I.: American Mathematical Society.
Adas, M. (1989). Machines as the Measure of Men: Science, Technology, and Ideologies of Western Dominance. Ithaca: Cornell University Press.
Boyer, C. B., & Merzbach, U. C. (1989). A History of Mathematics (2nd ed.). New York: Wiley.
Bradley, W. L. (1981). Siam Then: The Foreign Colony in Bangkok before and after Anna (1st ed.). Pasadena CA: William Carey Library.
Bryant, W. W. (2014). A History of Astronomy. New York: Routledge.
Burton, D. M. (2007). The History of Mathematics: An Introduction (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
Croarken, M. (2009). Human computers in the eighteenth- and nineteenth-century Britain. In E. Robson & J. A. Stedall (Eds.), The Oxford Handbook of the History of Mathematics (pp. 375-403). Oxford: Oxford University Press.
Desrosières, A. (1998). The Politics of Large Numbers: A History of Statistical Reasoning. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.
Grabiner, J. V. (1977). Mathematics in America: The First Hundred Years. In J. D. Tarwater (Ed.), The Bicentennial Tribute to American Mathematics, 1776-1976 (pp. 9-24). Washington, D.C.: Mathematical Association of America.
Huff, T. E. (2011). Intellectual Curiosity and the Scientific Revolution: A Global Perspective. Cambridge; New York: Cambridge University Press.
Olson, R. G. (2006). Science and Religion, 1450-1900: From Copernicus to Darwin. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press.
Orchiston, W., & Orchiston, D. (2017). King Rama IV and French Observations of the 18 August 1868 Total Solar Eclipse from Wah-koa, Siam. In T. O. Nakamura, Wayne (Ed.), The Emergence of Astrophysics in Asia: Opening a New Window on the Universe (pp. 291-317): Springer International Publishing.
Osterlind, S. J. (2019). The Error of Truth: How History and Mathematics Came Together to Form Our Character and Shape Our Worldview (1st ed.). Oxford: Oxford University Press.
Parshall, K. H., & Rowe, D. E. (1989). American Mathematics Comes of Age: 1875 - 1900. In P. Duren (Ed.), A Century of Mathematics in America: Part 3 (Vol. 3, pp. 3-28): American Mathematical Society.
Stigler, S. M. (1986). The History of Statistics: The Measurement of Uncertainty before 1900. Cambridge, Mass.: Belknap Press of Harvard University Press.
Storey, W. K. (Ed.). (1996). Scientific Aspects of European expansion. Aldershot, Great Britain: Variorum.
Tarnas, R. (1996). The Passion of the Western Mind: Understanding the Ideas That Have Shaped Our World View. London: Pimlico.