การพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

Main Article Content

วลัยพร กาญจนการุณ
ปพนธีร์ ปัญโญ
เรียวตะ วากาโซเนะ
ชลระดา หนันติ๊

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การแพร่ระบาดโควิด-19 2) ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การแพร่ระบาดโควิด-19 และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 การศึกษาครั้งนี้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นและชาวไทยในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างละ 5 คน แล้วจึงนำผลจากการสัมภาษณ์สร้างเป็นแบบสอบถาม โดยมีการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นและชาวไทย อย่างละ 100 ชุด รวม 200 ชุด ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นยังมีความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ปัจจัยด้านภูมิอากาศที่ดี ความเป็นมิตรของคนเชียงใหม่เป็นปัจจัยบวกที่ดึงดูดทำให้ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นตัดสินใจในการเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นที่พำนักระยะยาวในช่วงหลังเกษียณได้ ด้านผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการมาใช้บริการที่ลดลงของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับแนวทางในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในการพำนักระยะยาว โดยการเร่งแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข ด้านความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน และด้านการสื่อสาร

Article Details

How to Cite
กาญจนการุณ ว., ปัญโญ ป., วากาโซเนะ เ., & หนันติ๊ ช. (2022). การพำนักระยะยาวของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 23(2), 179–196. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/257979
บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สังขกร.(2559).โอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long Stay กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1.สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://site.sri.cmu.ac.th/

กรมควบคุมโรค.(2563).กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19.สืบค้น 21 มกราคม 2564. จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=12278&deptcode=brc

เฉลิมพล แจ่มจันทร์และ อรไท โสภารัตน์. (2557). การพำนักระยะยาวของคนญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่: การ วิเคราะห์ปัจจัยกำหนดในช่วงก่อนและหลังการพำนัก. วารสารญี่ปุ่นศึกษา,29(1),16-34

เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ และคณะ. (2562).รูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษาอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(3).

ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2563). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19 : โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่องสู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่.สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564

จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_CoverStory.aspx

ปานเสก อาทรธุระสุข,เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ, กาญจนา บุญยัง,โชเฮ โอกะวะ.(2561).โครงการรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย. สืบค้น 21 มกราคม 2564. จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/bitstream/1234567890/3783/3/2563_278.pdf

พนิดา อนันตนาคม. (2557). ข้อเสนอยุทธศาสตร์ ตลาดลองสเตย์ : การศึกษาภูมิหลังทางวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น. กองวิจัยการตลาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://www.etatjournal.com /web/menu-read-web-etatjournal/menu-2014/menu-2014-jul-sep/606-32557-longstay

พิชญลักษณ์ พิชญกุล และ อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา.(2561).การรับรู้เกี่ยวกับเชียงใหม่ของกลุ่มชาวญี่ปุ่นสูงอายุที่พำนักระยะยาว.วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 8(2), 38 – 57

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2555). หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกสำหรับการวิชัย.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช

ระพีพรรณ คำหอม และคณะ. (2547).โครงการประเมินผลการง่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการขังชีพสำหรับผู้สูงอาย " เสนอต่อ สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสคนพิการและผู้สูงอายุ.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกบล็อก จำกัด

วลัยพร กาญจนการุณ และ ธีรัช ปัญโญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างชาวญี่ปุ่นและชาวไทยในจังหวัด เชียงใหม่ช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง. วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 37-61

สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่. (2562). สถิติ O-A VISA. สืบค้น 21 มกราคม 2564 จากhttps://www.chiangmai.th.emb-japan.go.jp/itprtop_th/index.html

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.(2564).วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว.สืบค้น 21 มกราคม 2564. จาก https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/

สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2557). การย้ายถิ่นเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น: กรณีศึกษาคนญี่ปุ่นวัยเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 5(1), 35-52

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2565). รายได้ประชาชาติของประเทศไทย พ.ศ. 2563.สืบค้น 21 มกราคม 2564. จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=ni_page

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2563).สถิติประชากร.สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564 จากhttp://www.nso.go.th/sites/2014

อัญญ์พัศศา จันทร์ชลอ, อัศวิทย์ อิทธิภูริพัฒน์, และ ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2559). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการ แข่งขันของธุรกิจที่พำนักระยะยาวสำหรับชาวญี่ปุ่นสูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University,11(38), 45-55

Long Stay Foundation. (n.d.). The outline of the "longstay". Retrieved March 19, 2021, from http://www.lonestay.or.jp

Smart SME.(2560). "มาเลเซีย" เมืองนวัตกรรมการแพทย์สู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ.สืบค้น 21 มกราคม 2564. จาก https://www.smartsme.co.th/content/60717

World Travel & Tourism Council. (2017). Economic Impact of Travel & Tourism Report. Retrieved 29 April 2021, from https://wttc.org/