ชีวิตและครอบครัวของผู้หญิงชนชั้นกลางไทยกับการก่อตัวของระบอบอารมณ์ความรู้สึกใหม่

Main Article Content

Sittithep Eaksittipong
สายชล สัตยานุรักษ์

บทคัดย่อ

ในทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็วทำให้ผู้หญิงชนชั้นกลางมีระบบคุณค่าและเกิดอารมณ์ความรู้สึกใหม่ๆ ที่ส่งผลให้เกิด “ความทุกข์ทนทางอารมณ์ความรู้สึก สองมิติที่ทับซ้อนกัน มิติหนึ่งมาจากความพยายามทำตามมาตรฐานทางอารมณ์ความรู้สึกเดิมที่ยังคงมีอิทธิพลในสังคม แต่ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ อีกมิติหนึ่งมาจากการทำตามอารมณ์ความรู้สึกใหม่ๆ แต่ก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายใหม่ตามที่ใฝ่ฝัน เพราะยังต้องใช้ชีวิตภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจและระบบคุณค่าเดิมในครอบครัว


“ความทุกข์ทนทางอารมณ์ความรู้สึก” ที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้หญิงชนชั้นกลางต้องไปสู่ ที่พักพิงทางอารมณ์ความรู้สึก ที่มีอยู่หลายรูปแบบ ตอบสนองผู้หญิงแต่ละกลุ่มที่มีสัดส่วนของระบอบอารมณ์ความรู้สึกเดิมกับระบอบอารมณ์ความรู้สึกใหม่แตกต่างกัน “ที่พักพิงทางอารมณ์ความรู้สึก” เหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยปลดเปลื้อง “ความทุกข์ทนทางอารมณ์ความรู้สึก” เท่านั้น แต่ยังเป็นที่สำหรับบ่มเพาะ “ระบอบอารมณ์ความรู้สึกใหม่” ให้มีพลังมากขึ้นด้วย


แม้ว่าการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าและอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิงชนชั้นกลางบางส่วนจะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผู้หญิงส่วนหนึ่งก็สามารถตอบโต้และต่อต้านระบบคุณค่าและระบอบอารมณ์ความรู้สึกเดิมในสังคมอย่างเข้มแข็ง เพื่อยืนยันในสิทธิ เสรีภาพ อิสรภาพ และความเสมอภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเพศวิถีและ การทำงาน ที่สร้างตัวตนใหม่ให้แก่ผู้หญิงชนชั้นกลางเหล่านี้

Article Details

How to Cite
Eaksittipong, S., & สัตยานุรักษ์ ส. (2021). ชีวิตและครอบครัวของผู้หญิงชนชั้นกลางไทยกับการก่อตัวของระบอบอารมณ์ความรู้สึกใหม่. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(3), 188–212. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/252178
บท
บทความวิจัย