Editorial Article

Main Article Content

Editor

Abstract

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ


     วารสาร “มนุษยศาสตร์สาร” ฉบับนี้ได้รับการเผยแพร่ในช่วงเวลาที่น่ากังวลอยู่พอควร ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ต้องเผชิญกับความท้าทายในการใช้ชีวิตและคุณค่าในความเป็นมนุษย์อันเนื่องมาจากโรคระบาด COVID-19 ในกรณีของประเทศไทยนั้น ที่ผ่านมาอาจจะดูได้รับผลกระทบน้อยกว่าที่อื่นซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูง จะเป็นด้วยเพราะมาตรการป้องกันภายในประเทศ หรือเพราะลักษณะทางชีวภูมิศาสตร์ของประเทศที่ทำให้ประเทศไทยยังค่อนข้าง “นิ่ง” กว่าที่อื่น ก็ไม่อาจจะทราบได้อย่างแน่ชัด


     อย่างไรก็ตาม ในวันที่วารสารฉบับนี้ได้รับการเผยแพร่ ความ “สงบนิ่ง” ดังกล่าวกำลังจะกลายเป็นอดีตเนื่องจากการกลับมาระลอกที่ 2 (หรือที่บางท่านเล่นคำว่าเป็น “ระลอกใหม่”) ของโรคระบาดภายในประเทศ และครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะแพร่กระจายในวงกว้างมากกว่าครั้งที่ 1 อีกด้วย การกลับมาระลอกที่ 2  นี้ทำให้ผมและเพื่อนฝูงนักวิชาการได้คิดถึงในภาพกว้างของการดำรงอยู่ของความเป็นมนุษย์ของเรา ตอนนี้ผมยังไม่สมารถตกผลึกได้แน่ชัดว่าที่คิดอยู่คืออะไร เพราะโรคระบาด COVID-19 เป็น “แรง” หรือ “ความเปลี่ยนแปลง” แบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับมนุษยชาติ ที่ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และมุมมองทางวิชาการสมัยใหม่ของกระผมเองมีข้อจำกัดในการอธิบาย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกค้างคาใจ ผมจึงจะขอใช้กลอนที่ชื่อ “Vespers” (1992) ของกวีชาวอเมริกัน หลุยส์ กลั๊กค์ (Louise Glück) ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดีในปี 2563 นี้ ในการสะท้อนถึงความคิด (ที่ยังไม่ลงรอย) ของกระผมไปก่อน และหวังว่าเมื่อท่านได้อ่านกลอนของ กลั๊กค์ แล้วจะได้คิดถึงสภาวะการ ความเป็นตัวตน และคุณค่าของมนุษย์ในห้วงเวลาปัจจุบัน


Vespers


-- Louise Glück, 1992


In your extended absence, you permit me


use of earth, anticipating


some return on investment. I must report


failure in my assignment, principally


regarding the tomato plants.


I think I should not be encouraged to grow


tomatoes. Or, if I am, you should withhold


the heavy rains, the cold nights that come


so often here, while other regions get


twelve weeks of summer. All this


belongs to you: on the other hand,


I planted the seeds, I watched the first shoots


like wings tearing the soil, and it was my heart


broken by the blight, the black spot so quickly


multiplying in the rows. I doubt


you have a heart, in our understanding of


that term. You who do not discriminate


between the dead and the living, who are, in consequence,


immune to foreshadowing, you may not know


how much terror we bear, the spotted leaf,


the red leaves of the maple falling


even in August, in early darkness: I am responsible


for these vines.


แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

Article Details

How to Cite
Editor. (2020). Editorial Article. Chiang Mai University Journal of Humanities, 21(3), 1–8. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/249158
Section
Editorial Article