หน้าที่ทางไวยากรณ์และความหมายของคำว่า “นำ” ในภาษาไทยถิ่นอีสาน

Main Article Content

Sumalee Phonkhunsap

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และความหมายของคำว่า “นำ” ในภาษาไทยถิ่นอีสาน โดยเป็นการศึกษาภาษาเฉพาะสมัย ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ และภาษาไทยถิ่นอีสานที่ใช้สนทนาในชีวิตประจำวัน สมัยรัชกาลที่ 9 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2489 - 2563) ผู้วิจัยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดไวยากรณ์โครงสร้างของวิจินตน์ ภาณุพงศ์ (2525) ในการจำแนกหน้าที่ของคำ และใช้แนวคิดของนววรรณ  พันธุเมธา (2554) เพื่ออธิบายความหมายของคำ


           ผลการศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์ และความหมายของคำว่า “นำ” ในภาษาไทยถิ่นอีสานพบว่า คำว่า “นำ” ทำหน้าที่เป็นคำกริยา คำบุพบท คำขยายกริยา และคำเชื่อมอนุพากย์ ด้านความหมายของคำว่า “นำ” ได้แก่ 1. คำกริยา มีความหมายย่อย 2 ความหมาย คือ 1) มีความหมายเทียบได้กับคำว่า “ตาม” “ติดตาม” “ตามหา” ในภาษาไทยมาตรฐาน มีความหมายแสดงอาการเคลื่อนที่ไปสู่จุดหมายที่เป็นรูปธรรมปรากฏร่วมกับนามวลีที่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏร่วมกับนามวลีที่เป็นสถานที่ หรือวัตถุสิ่งของ 2) แสดงอาการเลียนแบบ 2. คำบุพบท มีความหมายย่อย 3 ความหมาย คือ 1) แสดงความหมายบอกผู้ร่วมที่เป็นการกระทำต่อกัน หรือความหมายบอกผู้ร่วมที่เป็นการไปกระทำร่วมกับผู้ใดผู้หนึ่ง มีความหมายเทียบได้กับคำว่า “กับ” “ด้วย” ในภาษาไทยมาตรฐาน 2) แสดงจุดหมายที่เป็นรูปธรรม 3) แสดงจุดหมายที่เป็นนามธรรม โดยคำว่า “นำ” ที่แสดงจุดหมายที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมมีความหมายเทียบได้กับคำว่า “ตาม” ในภาษาไทยมาตรฐาน 3. คำขยายกริยา แสดงความหมายบอกการเข้าร่วม การมีส่วนร่วม มีความหมายว่าเจ้าของกริยาได้ทำกริยานั้นร่วมกับผู้อื่นหรือต่อผู้อื่น มีความหมายพ้องกับคำว่า “ด้วย” ในภาษาไทยมาตรฐาน คำขยายกริยา “นำ” สามารถปรากฏเป็นส่วนขยายหลังคำกริยาเพียงลำพัง ส่วนคำบุพบท “นำ” นั้นจะต้องมีคำนามหรือนามวลีเป็นส่วนประกอบท้ายเสมอ 4. คำเชื่อมอนุพากย์  มีความหมายแสดงความเป็นเหตุเป็นผลของเหตุการณ์ โดยเทียบได้กับคำว่า “เพราะ” ในภาษาไทยมาตรฐาน และมักจะปรากฏหลังคำว่า “เป็น”

Article Details

How to Cite
Phonkhunsap, S. (2022). หน้าที่ทางไวยากรณ์และความหมายของคำว่า “นำ” ในภาษาไทยถิ่นอีสาน. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 23(1), 279–306. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/248560
บท
บทความวิจัย

References

กรองกานต์ รอดพันธ์. (2555). ถึง : การศึกษาเชิงประวัติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คำพูน บุญทวี. (2538). ลูกอีสาน. กรุงเทพฯ: หจก. บรรณกิจเทรดดิ้ง.
จรัสดาว อินทรทัศน์. (2539). กระบวนการที่คำกริยากลายเป็นคำบุพบทในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์
ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวนากร จันนาเวช. (2552). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตำรายาวัดท่าม่วง เล่ม 1. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
______. (2553). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตำรายาวัดท่าม่วง เล่ม 2. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2538). การศึกษามโนทัศน์ของคำว่า “เข้า” (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎี
บัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและภาษาไทยเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2554). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพรัฐ เสน่ห์. (2556). การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ “ด้วย” (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม.
ผดุง ไกรศรี. (2560). หนูหิ่นอินเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น.
______. (2561). หนูหิ่นอินเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น.
______. (2562). หนูหิ่นอินเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น.
พิมพ์ญา. (2558). ฮัก ณ อีสาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ญาบุ๊ค.
เพียรศิริ วงศ์วิภานันท์. (2546). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3 คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ยงค์ ยโสธร. (2555). คำอ้าย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.
ยาใจ ชูวิชา. (2536). ความเป็นประโยคของหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์
ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราตรี แจ่มนิยม. (2546). การศึกษาคำบุพบทที่กลายมาจากคำกริยาในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์
ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (2525). โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
. (2536). โครงสร้างของภาษาไทย : ระบบไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีณา วีสเพ็ญ, สมัย วรรณอุดร, ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์, สัญญา วุฒิสาร, อธิราชย์
นันขันตี และอภิชาต จันนาเวช. (2549). ตำรายาวัดมหาชัย เล่ม 1 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
. (2549). ตำรายาวัดมหาชัย เล่ม 2 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
. (2550). ตำรายาวัดมหาชัย เล่ม 3 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
. (2550). ตำรายาวัดมหาชัย เล่ม 4 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
. (2550). ตำรายาวัดมหาชัย เล่ม 5 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
สมัย วรรณอุดร. (2548). ตำรายาฉบับวัดศรีสมพร บ้านแบก ตำบลนาทอง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
. (2560). ตำราโหราศาสตร์พ่อจารย์บัวศรี ศรีสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ และคณะ. (2532). พจนานุกรมภาษาอีสาน-กลาง ฉบับมข.-สวอ. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์.
สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. (2551). ยัง : การศึกษาเชิงประวัติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร
มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพจใต้เตียงมข. (2563). Facebook ใต้เตียงมข. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก
https://www.facebook.com/underbedKKU/.
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2549). ภาษาอีสานวันละคำ. ค้นเมื่อ 4
มกราคม 2562, จาก www.isan.clubs.chula.ac.th.