ไม้สัก: ลัทธิจักวรรดินิยม และบทบาทของอังกฤษในความสัมพันธ์สยาม – ล้านนา ก่อนพ.ศ. 2442
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการชี้ว่า ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากการค้าไม้สัก และประเด็นสัมปทานไม้สักในล้านนาเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้สยามเข้าปกครองล้านนาโดยตรง ผนวกดินแดน และยกเลิกฐานะประเทศราชของล้านนาในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งผิดไปจากความเชื่อที่เคยมีมา เช่น อังกฤษบีบบังคับให้สยามหมดทางเลือก สยามจำเป็นต้องปกป้องล้านนาจากอังกฤษ ในความเป็นจริง ผลประโยชน์มหาศาลจากไม้สักในล้านนาและบทบาทของอังกฤษในการค้าไม้สักในล้านนาต่างหากที่ทำให้สยามต้องเร่งเข้ายึดครองล้านนาอย่างทั่วด้าน แทนที่การปกครองแบบหลวมๆ ในยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2317-2417) และผนวกดินแดนของล้านนาให้เป็นส่วนหนึ่งของสยามในที่สุด กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อทุกรัฐโดยรอบ การที่สยามยอมทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ผู้นำล้านนาเปิดโอกาสให้อังกฤษค้าขายไม้สักในล้านนาได้อย่างเต็มที่ ติดตามด้วยการที่สยามยอมทำสนธิสัญญาที่มีเนื้อหาเดียวกันกับสัญญาเบาว์ริงกับอีก 14 ชาติ ทำให้อังกฤษทั้งพอใจกับสนธิสัญญาและยังส่งผลให้สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติใด ผลของลัทธิจักรวรรดินิยมที่เกิดขึ้นในสยามและล้านนาจึงแตกต่างไปจากผลที่เกิดขึ้นในรัฐอื่นๆ นั่นคือ สยามกลายเป็น “รัฐกึ่งเมืองขึ้น” ที่แม้จะเสียเปรียบหลายด้านต่อชาติตะวันตก แต่ก็ยังคงรักษาระบอบการเมืองการปกครองแบบเดิมไว้ได้ ทั้งยังเปิดโอกาสให้สยามดำเนินนโยบายล่าดินแดน ทำลายอำนาจท้องถิ่นต่างๆ และผนวกดินแดนประเทศราช (เช่นล้านนา) เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามได้ในที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Hobson, John A. (1902). Imperialism: A Study. New York: James Pott and Company.
Robbins, Lionel. (1939). The Economic Causes of War. New York: Howard Fertic.
Van Der Heide, J. H. (1906). The Economical Development of Siam During The Last Half Century. Journal of the Siam Society. 3(74).
Wright, Arnold. (1903). Twentieth Century Impressions of Siam.
กิตติชัย วัฒนานิกร. (2558). นายห้างป่าไม้ สีสันชีวิตอดีตล้านนา. เชียงใหม่: สันติภาพแพ็คพริ้นท์.
คอร์ท, แมรี แอล. สยาม: ใจกลางแห่งอินเดียตะวันออกไกล [Siam: Or, The Heart of Farther India] (พรพรรณ ทองตัน), ฝรั่งในล้านนา. (2561). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. (ต้นฉบับพิมพ์ ปี ค.ศ. 1886)
คาร์ล บ็อค. (2562). ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง [พิมพ์ครั้งที่ 6]. กรุงเทพฯ: มติชน.
เจริญ ตันมหาพราน. (2554). 3 เจ้าสัวปางไม้. กรุงเทพฯ: ปราชญ์.
ไชยันต์ รัชชกูล. (2560). อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การก่อรูปรัฐไทยสมัยใหม่จากศักดินานิยมสู่ทุนนิยมรอบนอก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน.
จอห์น เบาว์ริง. (2550). ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม เล่ม 1 [The Kingdom and People of Siam] (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกัณฐิกา ศรีอุดม). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2546). 100 ปีแห่งรัก หมะเมียะ-เจ้าศุขเกษม (พ.ศ. 2446-2546). เชียงใหม่: สถาบันพัฒนาเมือง เชียงใหม่.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2554). 156 ปี เส้นทางสังคมไทย (พ.ศ.2398-2554). วารสารฟ้าเดียวกัน. 9(2).
เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2560). เปิดแผนยึดล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.
พรพรรณ จงวัฒนา. (2517). กรณีพิพาทระหว่างเจ้านครเชียงใหม่กับคนในบังคับอังกฤษเป็นเหตุให้รัฐบาลสยามจัดการปกครองมณฑลพายัพ พ.ศ. 2401-2445. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พร้อมพงศ์ ณ เชียงใหม่. (2518). การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองลาวเฉียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนสมัยเป็นมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2427-2436). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มรกต อารียะ. (2535) การค้าไม้สักในดินแดนล้านนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453). วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินท รวิโรฒ.
รัตนาพร เศรษฐกุล. (2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. กรุงเทพฯ: ซิลค์เวอ์ม.
ไศลรัตน์ ดลอารมณ์. (2528). พัฒนาของการทำป่าไม้สักในประเทศไทย พ.ศ.2439-2503. วิทยานิพนธ์ปริญญา อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา: ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
แสวง มาละแซม. (2560). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฅนยองย้ายแผ่นดิน : การเคลื่อนย้ายและการตั้งถิ่นฐานของฅน ยองในเมืองลำพูน (พ.ศ. 2348-2445). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2550). ทฤษฎีเศรษฐกิจ การเมืองยุคปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อำนวยวิทย์ ธิติบดินทร์. (2557). เหตุการณ์ ค.ศ. 1893 กับภาวะความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ สยาม. วารสารประวัติศาสตร์, 39.
อำนวยวิชญ์ ธิติบดินทร์. (2560). ทุนนิยมไทยและทุนนิยมโลก: กรณีการค้าไม้สักในยุคอาณานิคม. ถอดความ และสรุป จากการนำเสนอและอภิปราย เรื่อง ทุนนิยมไทยและทุนนิยมโลก : ศึกษาอดีตเพื่อเข้าใจ ปัจจุบัน วันที่ 25 มีนาคม 2560. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.