กำเนิดและพัฒนาการของตลาดนัดและผู้ค้ารายย่อยในภาคอีสาน

Main Article Content

สุวิทย์ ธีรศาศวัต
บัวพันธ์ พรหมพักพิง
สมศรี ชัยวณิชยา
นิลวดี พรหมพักพิง
จักรพงษ์ เจิอจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากำเนิด พัฒนาการและการปรับตัวของตลาดนัดและผู้ค้ารายย่อยในภาคอีสาน 2) ค้นหาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาตลาดนัดและผู้ค้ารายย่อยเพื่อเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาใช้ทั้งวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยสัมภาษณ์ผู้ค้ารายย่อยและผู้ที่เกี่ยวข้อง 163 คน การวิจัยเชิงปริมาณสัมภาษณ์ผู้ค้ารายย่อย 685 คน ผู้ซื้อ 480 คน จาก 12 ตลาดในจังหวัดนครพนม ขอนแก่น สุรินทร์ และอุบลราชธานี ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ตลาดนัดที่เก่าที่สุดของภาคอีสานคือตลาดนัดเทศกาลไหว้พระธาตุพนมเดือน 3 การเกิดขึ้นของตลาดนัดเป็นจำนวนมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัญหาเศรษฐกิจ กล่าวคือ ตลาดนัดที่ศึกษา 6 ตลาด เกิดขึ้นจากปัญหาวิกฤตฟองสบู่แตกใน พ.ศ. 2540 5 ตลาดนัด เกิดจากนโยบายภาครัฐ และอีก 1 ตลาดเกิดจากการท่องเที่ยว ผู้ค้าตลาดนัดปรับตัวโดยการนำสินค้ามาใกล้ผู้ซื้อในละแวกซึ่งห่างจากตลาดสด จึงขายได้กำไรถึง 40.69% ของยอดขาย และ 97.27% พอใจในอาชีพนี้ แม้ว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมายอดขายจะลดลงเพราะเศรษฐกิจไทยตกต่ำ ผู้ค้าเกือบครึ่งหนึ่งจึงทำเกษตรควบคู่ไปด้วยปัจจัยที่ผู้ซื้อมาซื้อของตลาดนัดเพราะ มีสินค้าหลากหลาย ใกล้บ้าน สินค้าราคาถูก ผู้วิจัยเสนอให้รัฐบาลประกวดตลาดนัดสะอาดน่าซื้อและให้รางวัลละ 1-3 ล้านบาท 3 รางวัล/จังหวัด

Article Details

How to Cite
ธีรศาศวัต ส., พรหมพักพิง บ., ชัยวณิชยา ส., พรหมพักพิง น., & เจิอจันทร์ จ. (2020). กำเนิดและพัฒนาการของตลาดนัดและผู้ค้ารายย่อยในภาคอีสาน. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 21(3), 200–213. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/244183
บท
บทความวิจัย

References

Christaller, W. (1966). Central Place in Southern Germany. (G. W. Baskin, Trans.). NY: Prentice Hall.

IMF (International Monetery Fund). (2019). Raishue prates riang tam palittapan muanraum nai prates [List of countries of national gross domestic products (GDP) in 2019]. Retrieved from https://www.th.m.wikipedia.org

Krabuansri, K. (1988). Taladnut munwian nai phaknue: Koranee suksa nai khet Chiangmai-Lumphun [Periodic Markets in North: Case Studies in Chiangmai-Lumpun Region]. (M.Sc Thesis Depertment of Geography, Chiang Mai University).

Leechareon, K. (1976). Kanwiko krongsang thang phumisart khong taladnut munwian nai changwad Satul [Analysis of Geographical Structure of Periodic Markets in Sutun Province]. (M.Ed. Thesis, Srinakarinwirot University).

Mabogunje, A. (1964). The Evolution and Analysis of Retail Structure of Lagos Nigeria. Economic Geography, 40. 304-323.

Poorpongkorn, N. (2002). Karnkapleek khong thai: ponkrathop khong karn khang kun jak phooprakobkarn kapleek khanadyai jak tang prated. Bangkok: National Research Council of Thailand.

Ruengdilokral, V. (1988). Wongjorn kan duenthang khong porka talatnut: koranee suksa Changwad Nakhonpathom lea phaenthee tornueang [Travelling Pedlar Circuit in Periodic Markets: A Case Study of Changwat Nakhom and Contiguos Areas]. (Thesis Department of Geography, Chulalongkorn University).

Surin Public Health Office. (2012). Raingarn saphap thourpai taladnut nai changwad Surin [Report on General State of Periodic Markets in Surin Province]. n.p.: mimeograpred.

Theerasasawat, S. (2005). Prawadsart technology karn kaset [History of Agricultural Technology]. Bangkok: Matichon.

Theerasasawat, S. (2018). Khamnurd lae patthanakarn khong taladsod lae phukha raiyoi nai phak Isan [The Origin and Evolution of Fresh Markets and Petty Traders in Local Northeast of Thailand]. Bangkok: Thailand Research Fund.

Theerasasawat, S. (2019). Khamnurd lae patthanakarn khong taladsod lae phukha raiyoi nai thongthin Isan [The Origin and Evolution of Fresh Markets and Petty Traders in the Northeast of Thailand]. Bangkok: Thailand Research Fund.

Theerasasawat, S. (2020). Khamnurd lae patthanakarn khong taladnut lae phukha raiyoi nai phak Isan [The Origin and Evolution of Periodic Markets and the Petty Traders in Northeast of Thailand]. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation (TSRI)

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Center. (2020). Than khomoon jarrueg nai prates thai: jarrueg porkhuramkhamphaeng [Database inscriptions in Thailand, Ramkhamphaeng inscription]. Retrieved from https://db.sac.org.th>incribe>datail