การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

Main Article Content

krot leksomboon

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ Platform ธุรกิจท่องเที่ยวอัจฉริยะ ระบบการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง ระบบการสืบค้นข้อมูลธุรกิจท่องเที่ยว และระบบการนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวอัตโนมัติ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ บุคลากรของห้างหุ้นส่วนจำกัด ยุ้งข้าวล้านนา และห้างหุ้นส่วนจำกัด ปางช้าง ท่าแพแม่ตะมาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมิน คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยนำเสนอได้ดังนี้ ระบบ Platform ธุรกิจท่องเที่ยวอัจฉริยะ ประกอบด้วยระบบการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง ระบบการสืบค้นข้อมูลธุรกิจท่องเที่ยว และระบบการนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวอัตโนมัติ โดยแต่ละระบบเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน มีการจัดเก็บข้อมูลเป็น 3 ส่วน คือ 1) JASON WordPress Server 2) JASON Firebase Server และ 3) Line Server ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเชื่อมต่อระบบได้ ระบบการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริงประกอบด้วยระบบ VR (Virtual Reality) และระบบ AR (Augmented Reality) เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ (New Experience) ให้นักท่องเที่ยว ระบบการสืบค้นข้อมูลธุรกิจท่องเที่ยว ประกอบด้วย Website (smarttourbiz.com), Smart Tour Biz Application และ Smart Tour Biz Line@ มีเนื้อหาสถานที่ท่องเที่ยว ภาพถ่าย ภาพ 360o และคลิปวิดีโอ มีระบบหลังบ้าน (Back office) ให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมต่อใช้ Platform ได้อย่างสะดวก บริหารจัดการข้อมูล ต่างๆ (Content Management System) ผ่านทาง Website ระบบการนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวอัตโนมัติ เป็นระบบส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติเมื่อเข้ามาอยู่ในรัศมีของสัญญาณ Beacon แบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะใกล้ ไม่เกิน 10 เมตร และระยะไกล 10-20 เมตร แต่ละระยะได้รับชุดข้อมูล ด้านการท่องเที่ยว เช่น Promotion , Map, การค้นหา AR, ของฝากของที่ระลึก หรือการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว การประเมินผลการใช้งานระบบธุรกิจท่องเที่ยวอัจฉริยะโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การใช้งานระบบการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง รองลงมาคือ การส่งต่อข้อมูลทำได้ง่ายสะดวก การใช้เนื้อหามีความน่าสนใจ ชวนติดตาม กระตุ้นอยากให้ท่องเที่ยว และแอปพลิเคชันมีความแปลกใหม่ เหมาะสมกับการท่องเที่ยวปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่เข้าร่วมในโครงการ เห็นว่า การใช้งานระบบต่าง ๆ สามารถใช้งานได้สะดวก ขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถเชื่อมต่อกับสารสนเทศที่มีอยู่ได้อย่างสะดวก บริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการแบ่งประเภทหรือหมวดหมู่ของเนื้อหาที่ชัดเจน มีระบบความปลอดภัยในเข้าถึง มีระบบความช่วยเหลือ การดูแลข้อมูล การควบคุม และให้คำแนะนำที่ชัดเจน รูปแบบของระบบสอดคล้องตรงกับความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว ช่วยส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในด้านต่างๆ

Article Details

How to Cite
leksomboon, krot. (2022). การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 23(1), 369–386. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/243224
บท
บทความวิจัย
Author Biography

krot leksomboon, Social Research Institute, Chiang Mai University

Social Research InstituteSocial Research Institute, Chiang Mai University

References

Chou, T.L., & Chanlin, L.J. (2012). Augmented reality smartphone environment orientation application: a case study of the Fu-Jen

university mobile campus touring system. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46(2012), 410-416. Retrieved from

http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S187704281201261X.

Kourouthanassis, P., Boletsis, C., Bardaki, C., and Chasanidou, D. (2015). Tourists responses to mobile augmented reality travel guides:

The role of emotions on adoption behavior. Pervasive and Mobile Computing Journal, 18(2015), 71-87. Retrieved from

https://www.journals.elsevier.com/pervasive-and-mobile-computing.

Acknowledgment

This research was funded by The Thailand Research fund, Lanna Rice Barn Part., Ltd. and Pang Chang Tha Pae Mae Ta man Part., Ltd. The researcher would like to thank you very much for making valuable research for tourism development in Thailand.