รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนของสถาบันการเงินชุมชนบ้านเขาดี จังหวัดชุมพร

Main Article Content

Wanchai Dhammasaccakarn
Angkana Dhammasajjakan
Pornpichet Hanghon
Pra Wanchai Siriwanno
Watsana Mouangnam

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการชุมชนของสถาบันการเงินชุมชนบ้านเขาดี ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาในอนาคต โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและตัวบุคคล โดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม คือ คณะกรรมการ 10 คน และสมาชิกกระจายทุกกลุ่มภูมิหลัง 33 คน รวม 43 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอเป็นพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า มีการจัดสวัสดิการชุมชนทั้งเน้นตัวเงินและไม่ได้เน้นตัวเงิน โดยสวัสดิการที่เน้นตัวเงินจัดตั้งเป็น 9 กองทุนสวัสดิการย่อย ได้แก่ กองทุนสวัสดิการเด็กและการศึกษา กองทุนสวัสดิการผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการสุขภาพสมาชิก กองทุนสวัสดิการอาชีพ กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการประกันความเสี่ยง กองทุนสวัสดิการซ่อมแซมทรัพย์สิน และกองทุนสวัสดิการทรัพย์มั่นคง ส่วนที่ไม่ได้เน้นตัวเงิน คือ จัดให้มีทรัพย์สินของกลุ่ม เช่น เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ชุดเครื่องครัว เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกสามารถเช่าหรือยืมไปใช้ในงานครัวเรือน จุดเด่นของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการย่อย คือ มีการจัดสวัสดิการแบบพหุลักษณ์ที่หลากหลาย และสมาชิกมีส่วนร่วมในการเข้ามารับผิดชอบและฝึกการบริหารจัดการกลุ่มในฐานะอนุกรรมการ ส่วนปัญหาอุปสรรค พบว่า ขาดการขยายตัวทำให้เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ อันเนื่องมาจากกรรมการมีประสบการณ์ขัดแย้งทางการเมืองในชุมชน จนขาดความกระตือรือร้นไม่กล้าขยายกลุ่มให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับแนวทางการพัฒนาในอนาคต นอกจากจะสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกแล้ว ควรยกระดับกลุ่มไปสู่วิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนต่อไป

Article Details

How to Cite
Dhammasaccakarn, W., Dhammasajjakan, A., Hanghon, P., Siriwanno, P. W., & Mouangnam, W. (2019). รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนของสถาบันการเงินชุมชนบ้านเขาดี จังหวัดชุมพร. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 20(2), 69–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/213157
บท
บทความวิจัย

References

Boonyarattanasoontorn, J. (2012). raingan kanwichai rưang kongthun songsœm kanchat sawatdikan sangkhom [Research Report: Social Welfare Promotion Fund]. Retrieved from https://thaicivilsociety.com/stock/pikan.pdf
Pochanukul, P. (2009). wannakam parithat læ kan sangkhro khwamru rưang sawatdikan chumchon nai prathet Thai. Bangkok: Thammasat University
Kamhom, R. (2004). thitthang læ rupbæp kanchat sawatdikan sangkhom khong prathet Thai. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.
Community Organizations Development Institute (CODI). (2007). sawatdikan chumchon thongthin. Bangkok: author.
Thisawet, S., Rakthong, R., & Sawaengsi, S. (2007). kongthun læ sawatdikan chumchon. Bangkok: Charoen Wit.
Ministry of Social Development and Human Security. (2016). yutthasat krasuang Pho.So. songphanharoihoksip - songphanharoihoksipsi læ yutthasat samnakngan palat krasuang Pho.So. songphanharoihoksip - songphanharoihoksipsi krasuang kanphatthana sangkhom læ khwammankhong khong manut [Strategy of Ministry A.D.2017-2021 and Strategy of Office of the Permanent Secretary A.D.2017-2021, Ministry of Social Development and Human Security]. Bangkok: author.