ท่วงทำนองการเขียนในตำราจริยศาสตร์ล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งเพื่อศึกษาท่วงทำนองการเขียนในตำราจริยศาสตร์ล้านนา โดยศึกษาจากตำราจริยศาสตร์ล้านนาจำนวน 7 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่าตำราจริยศาสตร์ล้านนามีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนเปิดเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนปิดเรื่อง การเปิดเรื่องมี 2 ลักษณะ คือ การเปิดเรื่องด้วยถ้อยคำมงคล และการเปิดเรื่องด้วยการบอกเจตนารมณ์ของการส่งสาร ส่วนเนื้อเรื่อง หากจำแนกประเภทของเนื้อเรื่องตามแนวคิดเรื่องประเภทสัมพันธสารของ Robert E. Longacre (1996) พบว่าเนื้อเรื่องมี 2 ประเภท คือ เนื้อเรื่องประเภทคำสอน และเนื้อเรื่องประเภทเรื่องเล่า เนื้อเรื่องประเภทคำสอน ประกอบด้วยส่วนขึ้นต้นคำสอน ส่วนเนื้อเรื่องคำสอน และส่วนลงท้ายคำสอน โดยส่วนขึ้นต้นคำสอนและส่วนลงท้ายคำสอนไม่ได้เป็นองค์ประกอบบังคับ การขึ้นต้นคำสอนและการลงท้ายคำสอนลักษณะต่างๆ นี้มีผลต่อการจัดหมวดหมู่คำสอนแต่ละเรื่องให้เป็นระบบและมีสัมพันธภาพ ส่วนเนื้อเรื่องประเภทเรื่องเล่านั้นเป็นส่วนที่ใช้ประกอบเนื้อเรื่องประเภทคำสอน ท่วงทำนองการเขียนขึ้นต้นเนื้อเรื่องประเภทเรื่องเล่ามี 3 ลักษณะ ส่วนเนื้อเรื่องของเรื่องเล่านั้นเน้นที่การกระทำและผลจากการกระทำ ท่วงทำนองการเขียนลงท้ายเรื่องเล่ามี 3 ลักษณะ ส่วนปิดเรื่อง ปรากฏถ้อยคำแสดงการกล่าวจบและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจาร