การพิจารณาลักษณะที่ใช้จริงของภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางใหม่ ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของไทย

Main Article Content

Yusop Boonsuk
Eric A. Ambele
Chamaiporn Buddharat

บทคัดย่อ

บทบาทของภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง ได้แผ่ขยายหน้าที่เหนือพรมแดนทางภูมิศาสตร์ สังคม และเชื้อชาติดั่งเช่นสะพานที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกลุ่มคนจากหลากหลายวัฒนธรรมและภาษาเข้าด้วยกัน ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ต้นแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบเดียวที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลกมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานคือ การสอนภาษาอังกฤษที่ยึดมาตรฐานแบบอังกฤษและแบบอเมริกัน แต่ในศตวรรษที่ 21 ปรากฏการณ์ของภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางได้จุดประกายแนวคิดใหม่ที่ว่า จำเป็นหรือไม่ที่การสอนหรือการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันจะต้องสอนและใช้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของเจ้าของภาษา หรือจะอนุญาตให้สามารถสอนและใช้ภาษาอังกฤษแบบอื่นๆ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในการเรียนการสอนได้ ผลงานวิจัยระบุว่า แนวคิดของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ยึดตามมาตรฐานของเจ้าของภาษากำลังมีแนวโน้มที่จะลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารในระดับสากลเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น จากปรากฏการณ์ข้างต้นได้จุดประกายให้คณะนักวิจัยศึกษาลักษณะบางอย่างของการบูรณาการภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของไทยใหม่

Article Details

How to Cite
Boonsuk, Y., Ambele, E. A., & Buddharat, C. (2018). การพิจารณาลักษณะที่ใช้จริงของภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางใหม่ ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของไทย. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 19(1), 93–121. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/131605
บท
Articles