Editorial Article
Main Article Content
Abstract
สำหรับวารสารฉบับนี้ พบว่าบทความที่นำเสนอก็ยังคงมีเนื้อหาคลอบคลุมในมิติที่หลากหลายด้านมนุษยศาสตร์ ทั้งทางด้านภาษา วรรณกรรม ปรัชญา ศาสนา จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ผ่านบทความที่น่าสนใจ ได้แก่ “พื้นที่กลุ่มคนในงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญไชย” “การเคลื่อนย้ายของแรงงานทำไม้ชาวขมุ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการเมืองระหว่างประเทศของสยามในดินแดนล้านนา ระหว่าง ค.ศ.1893-1907” ซึ่งเป็นบทความที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามนอกจากการใช้พื้นที่เป็นจุดเน้นแล้ว ยังมีบทความที่ใช้บุคคลนัยสำคัญมาเป็นจุดเน้นของงาน อาทิ “ปัญหาของประเทศและทางออก ทัศนะของ
ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ก่อนการปฏิวัติ พ.ศ.2475” ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีบทความที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับการสอนหรือการใช้ภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ ผ่านบทความเรื่อง “การพิจารณาลักษณะที่ใช้จริงของภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางใหม่ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของไทย” ขณะที่บทความทางด้านจิตวิทยาก็พบว่ามีรูปแบบการวิจัยที่นำเสนอทั้งการวิจัยกึ่งทดลองผ่านบทความเรื่อง “ผลของการใช้พุทธธรรมเพื่อบำบัดความเครียดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความเสี่ยงสูง” และการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัด ผ่านบทความเรื่อง “ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดเจตคติต่อการศึกษาต่ออาชีวศึกษา” นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ “ท่าทีแบบปรากฏการณ์วิทยาในปรัชญาญี่ปุ่น” และ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของครูในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา จังหวัดเชียงใหม่”