การส่งต้นฉบับ

รูปแบบการจัดหน้าวารสารมนุษยศาสตร์สาร

  • การจัดพิมพ์ต้นฉบับ
  1. บทความ รวมเอกสารอ้างอิงและอื่น ๆ ควรมีความยาวประมาณ 15-20 หน้ากระดาษ A4
    พิมพ์ด้วย Font TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 Point จัดหน้ากระดาษแบบกระจายแบบไทย
    (Thai Distributed)
  2. ระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวา 1 นิ้ว (2.54 ซม.)
  3. หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านล่างกึ่งกลางของหน้ากระดาษ ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ
  4. ชื่อเรื่องบทความ ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 Point (ตัวหนา)
    จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา
  5. ชื่อผู้เขียน ระบุทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 Point พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 1 บรรทัด จัดชิดขวา สำหรับตำแหน่งงาน, หน่วยงานที่สังกัดหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ และอีเมลให้ระบุเป็นเชิงอรรถท้ายข้อมูลของผู้เขียนชื่อแรกร่วมด้วย
  6. ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย
    ใต้ตารางระบุแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย (ถ้ามี)
  7. ชื่อภาพและหมายเลขกำกับภาพ ชื่อแผนภูมิและหมายเลขกำกับแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร
    14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อภาพ แผนภูมิระบุแหล่งที่มา
    จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

คำแนะนำในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

  • นโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ
  1. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของมนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะคลอบคลุมเนื้อหาทางด้านสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ ในด้านศาสนา/เทววิทยา ภาษาและภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ การแปล การท่องเที่ยว บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ปรัชญา/จริยศาสตร์ จิตวิทยา วรรณกรรม บ้านและชุมชน
    การท่องเที่ยว (
    ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) การศึกษาข้ามศาสตร์ หรือสหวิทยาการ
    (
    ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) อาณาบริเวณ/ชุมชนศึกษา และล้านนาศึกษา เป็นต้น โดยรับบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสาร
    การประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่าง
    การพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
    (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  3. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
  • กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ

บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้

  1. ผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ ThaiJO 2.0 เพื่อดำเนินการ ส่งบทความ พร้อมทั้งส่ง
    “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์” ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/submission
  2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยทันที
  3. กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายใน 30-45 วัน
  4. หลังจากพิจารณาเบื้องต้นแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูล
    ซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 20-40 วัน
  5. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด