Memoirs of Nepal: Reflections across a decade

Main Article Content

Ratawit Ouaprachanon

Abstract

ปลายปี ค.ศ. 2015 ที่ผ่านมา จอห์น พอล เลเดอรัค (John Paul Lederach) นักปฏิบัติและนักวิชาการคนสำคัญในด้านสันติภาพและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งได้เผยแพร่หนังสือเล่มใหม่ ชื่อ Memoirs of Nepal:Reflections across a decade (บันทึกจากเนปาล: ทบทวนบทเรียนข้ามผ่านทศวรรษ) ซึ่งบอกเล่าถึงประสบการณ์ของเขาที่ได้เข้าไปสัมผัสงานด้านสันติภาพและการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งในประเทศเนปาลกว่าทศวรรษ หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เป็นรายงานสมุดปกขาว (White Paper)
เพื่อส่งให้กับมูลนิธิแมคคอนแนล (The McConnell Foundation) องค์กรที่สนับสนุนงานด้านสันติภาพในเนปาลที่เลเดอรัคเข้าไปร่วมให้คำปรึกษาเพื่อสรุป
บทเรียน ทบทวนแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานต่อไป ด้วยที่หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามของเลเดอรัคในการกลั่นกรองประสบการณ์ส่วนตัว พร้อม
ทั้งมุมมองแนวคิดที่ตนได้ทำงานด้านสันติภาพทั้งระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศในเนปาลกว่า 12 ปี Memoirs of Nepal เล่มนี้จึงเปรียบเสมือนกับ
บันทึกประสบการณ์ของตัวเขาเองซึ่งเป็นที่มาของชื่อหนังสือเลเดอรัคนำเสนอหนังสือเล่มนี้ราวกับเป็นบันทึกการเดินทางพร้อม
ทั้งรูปประกอบต่าง ๆ ซึ่งทำให้หนังสือเล่มนี้มีชีวิตและจิตใจมากกว่าเป็นรายงานที่แห้งแล้ง โดยเขาได้แบ่งเนื้อหาไว้เป็น 4 ส่วน ได้แก่


ส่วนแรก Once upon the Time: First Contact, Lasting Impressions ซึ่งเกริ่นถึงที่มาที่ไปที่เขาได้เข้าไปทำงานในประเทศเนปาลซึ่งได้รับการเชื้อเชิญจากมูลนิธิแมคคอนแนลตั้งแต่
ปี ค.ศ. 2003


ส่วนที่สอง The Bird’s Eye View: Lessons and Decisions in Retrospect ซึ่งสังเคราะห์ถึงบทเรียนสำคัญในภาพกว้างของงานสันติภาพใน
เนปาลที่เลเดอรัคได้มีส่วนร่วม ตั้งแต่การเลือกเฟ้นกลุ่มคนที่จะมาวางแผนร่วมกัน การตั้งเป้าหมายและการวางแผนในระยะยาวแบบทศวรรษ ไปจนถึงการตัดสินใจ
เลือกยุทธศาสตร์หลักสนับสนุนงานด้านสันติภาพในเนปาล


ส่วนที่สาม Discoveries, Learnings and Relationships
เลเดอรัคเสนอแนะถึงรายละเอียดของบทเรียนต่าง ๆ และข้อค้นพบที่น่าสนใจ
เช่น กระบวนการสนับสนุนทุน ข้อคิดเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญ เครือข่ายและการสร้าง
ข่ายใยของกลุ่มต่าง ๆ การทำงานเป็นหุ้นส่วนของแหล่งทุนในการเปลี่ยนแปลง
ระบบ มิติเรื่องความสัมพันธ์กับผู้คนที่ขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพในระดับ


ชุมชนและภูมิภาค และรวมถึงบทเรียนจากกระบวนการสันติภาพภาคการเมือง
ในระดับประเทศและความเชื่อมโยงกับงานในระดับชุมชนท้องถิ่น และ ส่วนที่
สี่ People: Where paths cross, life happens กล่าวถึงเรื่องราวของบุคคล
สำคัญที่มีส่วนผลักดันหรือเกี่ยวข้องกับงานที่มูลนิธิแมคคอนแนลสนับสนุน ตั้งแต่
นักพัฒนาระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่แหล่งทุน นักหนังสือพิมพ์ที่มาช่วยเป็นล่าม
แปลในการอบรมแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง นักการเมือง ผู้นำองค์กรผู้หญิงไป
จนถึงชาวบ้านที่ผันตัวมามีบทบาทในการไกล่เกลี่ยและแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง
ในชุมชน
หนังสือบันทึกเล่มนี้เป็นความพยายามเลเดอรัคที่จะแสดงให้เห็น
ถึงหัวใจสำคัญของการศึกษาด้านสันติภาพ คือ กระบวนการสะท้อนทบทวน
จากประสบการณ์จริง (reflective practices) หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ปัญญาปฏิบัติ ได้อย่างชัดเจน เนื้อหาในหนังสือช่วยให้เราเห็นว่าแนวคิดต่าง ๆ
สามารถสะท้อนและเชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติจริงในบริบทความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ
อย่างประเทศเนปาลโดยได้อย่างไร
โดยภาพรวม หนังสือเล่มนี้พยายามฉายภาพแนวคิดการสร้างเสริม
สันติภาพอย่างมียุทธศาสตร์ (strategic peacebuilding) ทั้งในเรื่องการมองมิติ
เวลาอย่างมียุทธศาสตร์ในระยะยาว การจัดวางแนวทางของตนในกระบวนการ
สันติภาพ การใส่ใจให้ความสำคัญกับคนที่มีบทบาทขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
สังคมโดยเฉพาะศักยภาพของคนในท้องถิ่น (local capacities for peace)
รวมถึงมิติเครือข่ายและความสัมพันธ์ซึ่งเป็นแก่นสำคัญอีกประการในการสร้าง
เสริมสันติภาพ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราเห็นว่าการสร้างเสริมสันติภาพนั้นมิได้
เกิดขึ้นจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หากแต่เป็นกระบวน
การประสานและผสมผสานของการกระทำและความมุ่งมั่นตั้งใจจากผู้คนหลาก
หลายกลุ่ม ในหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับชาติและระดับระหว่าง
ประเทศ

Article Details

How to Cite
Ouaprachanon, R. (2019). Memoirs of Nepal: Reflections across a decade. Journal of Human Rights and Peace Studies, 4(2), 451–468. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/HRPS/article/view/199849
Section
Book Reviews