ความร้คู วามเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการการเงินส่วนบุคคล และผลการจัดการการเงินส่วนบุคคลของ ประชาชนนอกภาคการเกษตร

ผู้แต่ง

  • รักพงษ์ แสนศรี Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University
  • มนตรี โสคติยานุรักษ์ โสคติยานุรักษ์ Graduate School of Public Administration, National Institute of Development Administration (NIDA)

คำสำคัญ:

Philosophy of the sufficiency economy, financial management, non-agricultural people

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาเรื่อง ความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการการเงินส่วนบุคคล และผลการจัดการการเงินส่วนบุคคลของประชาชนนอกภาคการเกษตร ในจังหวัดที่มีความยากจนที่สุดในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดชัยนาท จังหวัดปัตตานีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนจังหวัดละ 400 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 1,600 ตัวอย่าง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการการเงินส่วนบุคคลกับผลการจัดการการเงินส่วนบุคคล 2) นำเสนอนโยบายเพื่อส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการการเงินส่วนบุคคลอย่างยั่งยืน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด (Min) ค่าสูงสุด (Max) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุของความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีต่อผลของการจัดการการเงินส่วนบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit)

ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับคือ ค่าดัชนี x2/df = 1.472 ค่า p-value = 0.134 ค่า GFI = 0.998 ค่า RMR = 0.00174 ค่า CFI = 1.00 และค่า RMSEA = 0.0173 ในส่วนของอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผลต่อผลของการจัดการการเงินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นพบว่า 1) ตัวแปรความรู้ความเข้าใจในหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (UNDER) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อตัวแปรการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเงินส่วนบุคคล (APP) โดยมีขนาดความมีอิทธิพลเท่ากับ 0.840 ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ตัวแปรการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเงินส่วนบุคคล (APP) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อตัวแปรผลของการจัดการการเงินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SUFECO) โดยมีขนาดความอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.863 ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ตัวแปรความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (UNDER) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับตัวแปรผลของการจัดการการเงินตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SUFECO) โดยมีขนาดความอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.161 ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ตัวแปรความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (UNDER) มีอิทธิพลรวมต่อตัวแปร ผลของการจัดการการเงินตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SUFECO) โดยมีขนาดความอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.864 ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 5) ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (UNDER) มีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรผลของการจัดการการเงินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SUFECO) โดยมีขนาดความมีอิทธิพลเท่ากับ 0.703 ซึ่งมีค่าอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6) ในด้านการนำเสนอนโยบายนั้น ภาครัฐมีนโยบายเชิงรุกในการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้อง และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำ�วันอย่างแท้จริงโดยภาครัฐควรมีกระบวนการการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสะท้อนถึงผลของการปฏิบัติอย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะส่งเสริมบุคลากรในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดแทรกกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในองค์กร สร้างค่านิยมที่ดีในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่บุคลากร เพื่อให้ได้ผลดีมีประโยชน์ต่อทั้งผู้ปฏิบัติและในระดับองค์การ เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนอย่างแท้จริง

References

Attakorn, W. (B.E.2553). Settakit Khan Muang Thai 2544-2553 Yuk 5 Nayok. Bangkok: Nam Ping Sai.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1998). Research in Education. 8th ed. Singapore: Allyn and Bacon.

Bloom, B. S. (1971). Mastery learning. In Block, J. H. (Ed.). Mastery Learning: Theory and Practice. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Donkwa, K. (B.E.2556). Community Business Management on a Self-Sufficiency Economy. Research Paper, Suranaree University of Technology.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Inchumpa, P. (B.E.2554). The Practices on the Sufficiency Economy Philosophy among Employee’s Families in Private Hospitals, Bangkok Metropolitan. Thesis, Mahidol University.

Jantiang, J. (B.E.2558). Business Management and Application of Sufficiency Economy Philosophy in Self-Reliance: A Case Study of Local Fisherfolk in Palian District, Trang. Independent Study, Master of Business Administration, Prince of Songkla University.

Office of the National Economic and Social Development Council. (B.E.2560). Rai Ngan Khan Wikor Satanakhan Kham Yakchon Lae Kwam Liuam Lam Nai Pratet Thai. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Rangsipaht, S., & Sangtriphetkra, A. (B.E.2557). Means towards Application of Sufficiency Economy Philosophy for Individual and Family Development of Students, Faculty of Agriculture, Kasetsart University.

Spielmann, S., & Cheanmanut, O. (B.E.2516). Chidwittaya Sangkom. Bangkok.

Sridaromont, U., Ngamsanit, S., Banchirdrit, S., & Sriharum, B. (B.E.2556). The management of Thai household economic system based on sufficiency economic philosophy. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 7(3), 83-91.

Srisopha, A. (B.E.2522). Khan Wikor Chud Mung Mai Kong Mahawittayalai Nai Pratet. Bangkok: Wattana Phanit Printing Press Co., Ltd.

Sundaravibhata, T. (2016). Media usage and spending behaviors based on the sufficiency economy among college students in the Bangkok metropolitan, BU Academic Review, 15(1), 137-155.

The Chaipattana Foundation. (B.E.2548). Pratchaya Settakit Phor Phiang. Retrieved June 20, B.E.2561 from http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html.

Thongpakdee, N. (B.E.2550). Sufficiency economy philosophy: Historical background and interpretation. NIDA Development Journal, 47(1), 1-25.

Virutsetazin, K., & Wimonwatwatee, T. (B.E.2553). The Development of Saving Model Following Philosophy of the Sufficiency Economy on Lifestyle of Undergraduate Students, Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University. Research Paper, Srinakharinwirot University.

Wasi, P. (B.E.2550). Khan Chadkhan Kwam Ru: Krabuankhan Prod Proy Manut Su Seriphab Lae Kwamsuk. Bangkok: Green-Phanyayan.

Yamane, T. (1979). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29