การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • คำรณ โชธนะโชติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 272 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

Abstract

การวิจัยหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยมหิดลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามข้อมูลทั่วไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน ใช้สูตรทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-Test) ในกรณีตัวแปรต้น 2 กลุ่ม และทดสอบค่าเอฟ (F-Test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้าน คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักความโปร่งใส อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.93,  3.88, 3.77, 3.70, 3.66 และ 3.63 คะแนน ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยมหิดลต่อการบริหารงานตาม
หลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามข้อมูลทั่วไป พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตำแหน่งทางการบริหาร ตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งชำนาญการ/งาน ประเภทของผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานที่สังกัด ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Downloads

Published

2017-08-07