ปัจจัยด้านลักษณะของงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักงานใหญ่

ผู้แต่ง

  • ภัทรพงษ์ งามกิจปราโมทย์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กัลย์ ปิ่นเกษร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านลักษณะของงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

บทคัดย่อ

ทรัพยากรมนุษย์เป็นพลังขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์การ เนื่องจากทรัพยากรบุคคลเหล่านี้จะนำทักษะ ความรู้ และประสบการณ์มาใช้เพื่อช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้การลงทุนในการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จะช่วยให้องค์การสามารถเสริมสร้างแรงจูงใจ และความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์การ นำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นและความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะของงาน (2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ และ (3) อิทธิพลของปัจจัยด้านลักษณะของงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จำนวน 529 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 228 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะของงานอยู่ในระดับมาก (2) พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก และ (3) ปัจจัยด้านลักษณะของงานด้านงานที่มีความหลากหลาย ด้านงานที่มีการได้รับข้อมูลย้อนกลับ และด้านงานที่มีเอกลักษณ์ของงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การได้ร้อยละ 60.40

References

Steers RM . Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly 1977;22(1):46-56.

Allen NJ, Meyer JP. The Measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology 1990; 63:1-18.

Porter LW, Steers RM, Mowday RT, Boulian PV. Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology 1974;59(5):603–9.

Muchinsky PM. Psychology Applied to Work: An Introduction to Industrial and Organizational Psychology. 4th ed. Thomson Brooks: Cole Publishing Co.;1993.

Richard T. Mowday, Lyman W. Porter and Richard M. Steers. Employee–Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism and Turnover. New Jersey: Prentice-Hall; 1982.

Hackman JR, Oldham GR. Work Redesign. Massachusetts: Addison-Wesley;1980.

Buchanan B. Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly 1974;19:533-46.

สำนักผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. ปัจจัยที่มีผลกระทบหลักต่อกิจการ. รายงานประจำปี 2564;16-8.

อนันต์ มณีรัตน์. ความผูกพันของในองค์การ: ศึกษากรณี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 2560;7:67-90.

ภิรตา ประสงค์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์:กรณีการ ศึกษาเปรียบเทียบสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด กับสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562.

ขนิษฐา สมรัตน์. ปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานส่งผลต่อความผูกพันในงานและความผูกพันในองค์กรของบุคลากร กรณีศึกษาองค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น; 2563.

พิทยุตม์ แสงประเสริฐ. ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมที่ดิน ในหน่วยงานสังกัดราชการ บริหารส่วนกลาง [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

ภัณฑิรา ประทุมมา. การเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และข้าราชการเจนเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษา: กรมสรรพสามิตสังกัดส่วนกลาง [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

วธู สวนานนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันของพนักงานต่อองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

ณัฐนรี ตันติชูวงศ์. ความผูกพันต่อองค์การของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2561;9:1-23.

ปีราติ พันธ์จบสิงห์. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง 2564;2:21-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19