การบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกและการพัฒนาศักยภาพในตนเอง ผ่านการศึกษานอกสถานที่: ข้อเสนอการออกแบบแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • ถิรเดช พรหมคช อาจารย์ โรงเรียนเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การศึกษานอกสถานที่, ความเป็นพลเมืองโลก, การพัฒนาศักยภาพในตนเอง, การจัดประสบการณ์การการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เป็นหนึ่งภารกิจของอาจารย์และนักการศึกษาทุกระดับชั้นการศึกษา การศึกษานอกสถานที่สามารถสร้างผลกระทบสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งจากประสบการณ์จริงที่ได้พบ และการท้าทายทัศนคติความเชื่อของตน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติการศึกษานอกสถานที่สำหรับนักการศึกษาและผู้จัดกิจกรรม ในการออกแบบและอำนวยการจัดการศึกษานอกสถานที่ เพื่อบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกและการพัฒนาศักยภาพในตนเอง จากการสังเคราะห์ได้ ข้อเสนอแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อการศึกษานอกสถานที่ 6 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดกรอบ: ระบุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และความสอดคล้องการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่กับหลักสูตร 2) วางแผน: จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ท้าทายและมีความหมาย 3) จัดเตรียมกิจรรม: สร้างการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยกระตุ้นการตั้งคำถาม 4) การส่งเสริมการเรียนรู้: ให้เกิดตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมมีความหลากหลาย และเปิดรับมุมมองจากประสบการณ์จริง 5) การประเมินผล: ประเมินผลการเรียนรู้และให้ผลสะท้อนกลับอย่างทันท่วงที และ 6) สะท้อนผลเพื่อการพัฒนา: ประเมินผลการจัดกิจกรรมทุกมิติ จัดทำแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะในการนำปฏิบัติ มีประเด็นสำคัญ 5 ข้อ คือ 1) การออกแบบกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ที่ส่งเสริม ท้าทาย ก่อให้เกิดความหมายต่อผู้เรียน คัดเลือกสถานที่ให้สอดคล้องกับหลักสูตร และเตรียมความพร้อมผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) ค้นหา/พัฒนาผู้นำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน 3) สร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง เกิดความประทับใจ แบ่งปันการเรียนรู้ และสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เรียนได้ท้าทายความคิดและทัศนคติเดิมของตน 4) กระตุ้นให้ผู้เรียนนำเสนอความคิด และรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ และ 5) ประเมินผลกิจกรรมในทุกมิติและนำผลไปพัฒนาการศึกษานอกสถานที่ในอนาคตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   บทสรุปของการศึกษานอกสถานที่เป็นกิจกรรมระยะสั้น 1-3 วัน เมื่อมีกระบวนการเตรียมงานผ่านแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ จะที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์จริง เกิดความประทับใจมีความหมาย และได้เกิดการสะท้อนคิด ซึ่งประสบการณ์จริงที่มีความหมายก่อให้เกิดความประทับใจ จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในตนเองที่จะมีส่วนในการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกและการพัฒนาศักยภาพในตนเอง

References

UNESCO. The ABCs of global citizenship education [Internet]. 2017 [cited 2023 Jun 13]. Available from: https://unesdoc.unesco. org/ark:/48223/pf0000248232

Ugur H, Constantinescu PM, Stevens MJ. Self-awareness and personal growth: Theory and application of Bloom's Taxonomy. Eurasian Journal of Educational Research 2015;60:89-110.

Behrendt M, Franklin T. A review of research on school field trips and their value in education. International Journal of Environmental and Science Education. 2014;9:235-45.

Berk LE. Development through the lifespan. Hoboken, NJ: Pearson Education, Inc.; 2018.

Kolb DA. Experiential learning: Experience as the Source of Learning and Development. NJ: Prentice-Hall; 1984.

Mezirow J. Perspective transformation. Adult Education 1978;28(2):100-10.

Mezirow J. Learning as transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. San Francisco: Jossey-Bass; 2000.

Finchum WM. How Can Teachers and Students Prepare for Effective Field Trips to Historic Sites and Museums? [PhD thesis]. Knoxville, TN: University of Tennessee; 2013.

Rohlf G. How to make field trips fun, educational and memorable: Balancing self-directed inquiry with structured learning. The History Teacher 2015;48(3):517–28.

Caruana V. Re-thinking global citizenship in higher education: From cosmopolitanism and international mobility to cosmopolitanisation, resilience and resilient thinking. Higher Education Quarterly 2014;68(1):85-104.

Campbell YM, Gedat R. Experiential learning through field trips: Effects on educational, social and personal development among linguistics majors. Journal of Cognitive Sciences and Human Development 2021;7(2): 131-44.

Gomez-Lanier L. The experiential learning impact of international and domestic study tours: Class excursions that are more than field trips. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education 2017;29(1): 129-44.

Foo SC, Foo KK. Purposeful field trip: Impact on experiential learning opportunities and critical thinking skills. Pertanika Journal of Social Science and Humanities 2022;30(1): 1-14.

Mezirow J. Transformative learning: Theory to practice. New Directions for Adult and Continuing Education 1997;74:5-12.

Falk JH, Dierking LD. The Museum Experience. Routledge; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19