การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คำสำคัญ:
หลักสูตรออนไลน์, การพัฒนาระบบ, บริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วม และประเมินประสิทธิภาพของระบบจากความพึงพอใจของผู้ใช้ กลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วม ประกอบไปด้วยส่วนการทำงาน 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ใช้งาน ผู้ดูแลระบบ และผู้บริหาร 2) ความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการออกแบบหลักสูตรออนไลน์และบริหารจัดการกระบวนการผลิตแบบมีส่วนร่วม ตามทฤษฎีการวัดคุณภาพการบริการเว็บไซต์ E-S-QUAL and E-RECS-QUAL ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.49)
References
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา. แผนยุทธศาสตร์ฉบับปรับปรุง 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.digital.cmru.ac.th/core/File/1346.pdf
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://adi2learn.blogspot.com/2018/01/addie-model.html
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย และ ธนะภูมิ สงค์ธนาพิทักษ์. การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www. slideshare.net/kha00at/week-8-system-analysis
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. จำนวนบุคลากรสายวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dhrm.cmru.ac.th/web58/datas/file/tabenprawat/156594726.Pdf
บุญชุม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2561;2(1):64-70
จิตราภา กุณฑลบุตร. การวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด; 2550.
ธีรวัฒน์ ประกอบผล. การพัฒนาโมเดลสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย UML 2.0. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย; 2552.
วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์. ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2546.
ไพศาล เกรียงเชิดศักดิ์. การศึกษาคุณภาพการให้บริการทางเว็บไซต์ กรณีศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.
ศยามน อินสะอาด. การออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University 2559;9(3):906- 22.
ประทีป เทพยศ และ อภิรมย์ อังสุรัตน์. การพัฒนาและประเมินระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2564;8(2):1-12.
อภิชัย ทาก๋อง. การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.
วรรณพร จิตรสังวรณ. ประสิทธิภาพระบบเช่าห้องอัดเสียงและอุปกรณ์ดนตรีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้แนวคิดคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 2564;1(1):15-25

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล