ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ผลสัมฤทธิ์ของการเรียน, หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา, หลักสูตรหลังปริญญาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญา ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 62 คน ตัวอย่างขนาด 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และผ่านการทดลองใช้กับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ชั้นปี 6 จำนวน 10 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยได้ค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) การทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการสำเร็จของนักศึกษา และด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาอยู่ในระดับมาก โดยด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ และด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการสำเร็จของนักศึกษา และด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอนมีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศมีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.05) ส่วนอายุ สาขาที่ศึกษาต่อ หลักสูตรที่ศึกษาต่อ สังกัดในการทำงานปัจจุบัน และประสบการณ์ในการทำงาน มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p>0.05)
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอร์ต์ ซินดิเคท จำกัด; 2553.
นวรัตน์ ศึกษากิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชกรรมของโรงเรียนอาชีวศึกษา. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม; 2561.
วิชัย วงษ์ใหญ่. การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์; 2554.
อัญชลี ทองเอม และไพทยา มีสัตย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2561;10(2):205-11.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 25 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย. ความคาดหวังของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดตอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล 2559;36(2):199-207.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (ฉบับปรับปรุงใหม่) พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด; 2553.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน; 2555.
สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต; 2560.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2556.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล