ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คำสำคัญ:
เว็บไซต์, การยอมรับเทคโนโลยี, คุณภาพของระบบ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีให้มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร และนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และการเลือกตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบ t ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านคุณภาพข้อมูล ด้านคุณภาพการบริการ และด้านการรับรู้ประโยชน์ ตามลำดับ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพเว็บไซต์ และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บไซต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อำนาจการทำนายของปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ พบว่า ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีผลต่อความพึงพอใจ (R2= .679) และด้านการรับรู้ประโยชน์มีผลต่อความพึงพอใจ (R2= .241) สำหรับข้อเสนอแนะแนวทาง พบว่า ควรอัพเดทข้อมูลบนไซต์เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาที่ชัดเจน
References
ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
Amin M, Rezaei S, Abolghasemi M. User satisfaction with mobile websites: the impact of perceived usefulness (PU), perceived ease of use (PEOU) and trust. Nankai Business Review International 2014;5(3):258-74.
อัครเดช ปิ่นสุข. การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558.
ปรางค์ชิต แสงเสวตร. ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์อินทราเน็ต กฟผ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.
Van Deventer M, Lues H. Factors influencing generation Y students’ satisfaction with university websites. Acta Universitatis Danubius Oeconomica - Danubius Journals 2020;6:109-26.
สุธาทิพย์ สาทพลกรังและสัญชัย ครบอุดม. การศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์; 2558.
ศิริพล แสนบุญส่ง. การพัฒนาเว็บไซต์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ด้วยระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2559;10:117-28.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. ผลกระทบของคุณภาพเว็บไซต์ และการยอมรับเว็บเพื่อการท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจและความตั้งใจที่จะใช้บริการเว็บไซต์ตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 2560;10:2174-88.
ภูริพันธ์ ธีรสุภะเสฏฐ์. ผลของคุณภาพเว็บไซต์และการปรากฏทางไกล ต่ออรรถประโยชน์ ความเพลิดเพลิน และความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการในร้านค้าออนไลน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
Cho YC. Exploring factors that affect usefulness, ease of use, trust, and purchase intention in the online environment. International Journal of Management and Information Systems 2015;19:21-36.
ณัฐชยา รักประกอบกิจ. คุณภาพของเว็บไซต์และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสมัครงานออนไลน์ (E-job) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2559.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล