การพัฒนาและประเมินระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ประทีป เทพยศ งานสารสนเทศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อภิรมย์ อังสุรัตน์ งานกายภาพและบริการพื้นฐาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ระบบแจ้งซ่อมบำรุง, ครุภัณฑ์, ออนไลน์, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ให้กับงานกายภาพและบริการพื้นฐาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยวัดจากความพึงพอใจของผู้ให้และผู้ใช้บริการ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาปัญหา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์เดิม ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ ระบบนี้ได้ทำการพัฒนาบนระบบปฏิบัติการ Windows Server 2010 ภายใต้ Internet Information Service (IIS) ด้วยเทคโนโลยี .Net Framework บนฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2000 และประเมินความพึงพอใจหลังทดลองใช้ระบบจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน ซึ่งเป็นผู้ให้และผู้ใช้บริการระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ ที่เคยให้บริการและทดลองใช้ระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า ระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ได้ดีในกระบวนการแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ของคณะฯ ผู้ให้และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อระบบภาพรวมอยู่ในระดับดี  (Mean ± S.D. = 4.15±0.65)    โดยพึงพอใจต่อประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean ± S.D. = 4.21±0.69)  ด้านการสนับสนุนการให้บริการการใช้งาน และด้านการออกแบบโปรแกรม อยู่ในระดับมาก (Mean ± S.D. = 4.15±0.59 และ 4.01±0.60  ตามลำดับ) ดังนั้น ระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์จึงสามารถสนับสนุนกระบวนการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์ของคณะฯ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น

References

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับคณะฯ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.en.mahidol.ac.th/thai/about/index.html.

จิรายุ อนุชน. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลออนไลน์และฐานข้อมูลฟรีออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564].เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3otWRrQ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพ ฯ: อมรการพิมพ์; 2560.

ชัชวาล เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

บุญชม ศรีสะอาด.หลักการวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์; 2553.

มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563 – 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.tm.mahidol.ac.th/it-new/sites/default/files/MU-ICT-MasterPlan-2563-2566.pdf.

Jalal D, Al–Debei M. Developing and implementing a web portal success model. Jordan Journal of Business Administration 2013;9(1):161–90.

JV Chen, Y Chen, E.P.S Capistrano. Process quality and collaboration quality on B2B e–commerce. Industrial Management and Data Systems 2013;113(6):908–26.

เจนจจิรา ภาผิวดี, อรรถกร เก่งพล. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลสำหรับการบันทึกข้อมูลการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์: กรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2560;30(3):432-42.

มหาลัยราชภัฏสงขลา. ระบบซ่อมคอมพิวเตอร์ออนไลน์มหาลัยราชภัฏสงขลา [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://cc.skru.ac.th/repair/index1.php?display=true.

มหาวิทยาลัยมหิดล. หอพักนักศึกษา: แจ้งซ่อมออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.orsa.mahidol.ac.th/muhome/fix/index.php.

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ระบบแจ้งซ่อมงานสาธารณูปโภค [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://ns2.ph.mahidol.ac.th/physical/.

พงษ์พัฒน์ สมใจ. ความพึงพอใจการใช้โปรแกรม PHP ประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่หลังจากใส่ปุ๋ยคอกของเกษตรกร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์; 2561; หน้า 381-387.

สุจิตรา ชัยวุฒิ สุกัญญา ปริสัญญกุล ฉวี เบาทรวง และกิ่งฟ้า แสงลี. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การประเมินความก้าวหน้าในระยะคลอด. พยาบาลสาร 2554;38(3):11–9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-09