พฤติกรรมการออกกำลังกายและความต้องการของลูกค้าที่มารับบริการของ ศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ศูนย์ออกกำลังกาย, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19), ฐานวิถีชีวิตใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการออกกำลังกายของลูกค้าของศูนย์ออกกำลังกายก่อนและหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (2) ความต้องการของลูกค้าในการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วยมาตรการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านการติดตามและคัดกรองความเสี่ยง มาตรการด้านการป้องกันตนเองและมาตรการด้านการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (3) ความร่วมมือของลูกค้าต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ (4) ความคิดเห็นของลูกค้าต่อการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ประชากรที่ศึกษาคือลูกค้าที่มารับบริการของศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือน สิงหาคม-กันยายน 2563 จำนวน 81 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วนร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายของลูกค้าที่มารับบริการของศูนย์ออกกำลังกายก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่แตกต่างกัน ในด้านความต้องการของลูกค้าในการให้บริการศูนย์ออกกำลังกายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86) เมื่อจำแนกตามรายด้านพบว่ามีความต้องการด้านมาตรการติดตามและคัดกรองความเสี่ยงมากที่สุด ( = 3.98) ในส่วนของความร่วมมือของลูกค้าต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.21) และความคิดเห็นของลูกค้าต่อการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.00)
References
สุรัยยา หมานมานะ,โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และ สุมนมาลย์ อุทยมกุล. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2):E1-E10.
แบรนด์ อินไซด์. จุดพลิกอุตสาหกรรมฟิตเนส เมื่อ COVID-19 ทำการออกกำลังกายออนไลน์บูมจนยิมต่างๆ เริ่มมีปัญหา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ก.ค.31]. เข้าถึงได้จาก https://brandinside.asia/fitness-future-covid-19/
มาลี บุญศิริพันธ์. รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กรกฎาคม 10]. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/292126
Best, J.W. Research in Education.10thed. Cape Town: Pearson Education Inc.; 2006
ไทยโพสต์. ยุคทองธุรกิจสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิถุนายน 2]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/ 67567.
อวาทิพย์ แว. COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา 2563;35(1): 24-9.
กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือปฏิบัติการตามมาตรการผ่อนคลายกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2563.
Vardavas CI, Odani S, Nikitara K, Banhawi HE, Kyriakos CN, Taylor L et al. Perceptions and practice of personal protective behaviors to prevent COVID-19 transmission in the G7 nations. Population Medicine 2020;2(June):17.
Dryhurst S, Schneider CR, Kerr J, Freeman ALJ, Recchia G, Marthe van der Bles A et al. Risk perceptions of COVID-19 around the world. Journal of Risk Research. online: 05 May 2020 https://doi.org/10.1080/ 13669877.2020. 1758193.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง.พฤติกรรมของประชากรโลกในช่วงเผชิญภาวะวิกฤติ COVID-19.วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา 2563;35(1):14-22.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล