ทัศนคติในการประกอบวิชาชีพของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ เผือกเอม งานบริหารการศึกษา พัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กาญจณา ประสงค์ ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, ทัศนคติในการประกอบวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติในการเลือกประกอบวิชาชีพของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการรู้จักตัวเอง ด้านลักษณะงานและการเตรียมความพร้อมเพื่อประกอบอาชีพจำแนกตามชั้นปีของนักศึกษา ประชากรที่ศึกษาคือนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 224 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และส่วนที่ 2 ทัศนคติในการประกอบการวิชาชีพของนักศึกษา มีทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการรู้จักตนเอง ด้านลักษณะของงานและด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อประกอบอาชีพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยอัตราส่วนร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (  )และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เหตุผลในการเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตเพราะเป็นความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพการสัตวแพทย์ในอนาคต และกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เลือกเข้าร่วมเป็นลำดับแรกคือกิจกรรมด้านวิชาการและวิชาชีพ  ในด้านทัศนคติในการประกอบการวิชาชีพของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.11) โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 6 มีทัศนคติในการประกอบวิชาชีพสูงที่สุดคือ มีค่าเฉลี่ย 4.21 คิดเป็นระดับมากที่สุด

References

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พุทธศักราช 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก ราชกิจจานุเบกษา (ลงวันที่ 1พฤษภาคม 2562).

คณะสัตวแพทยศาสตร์. รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2563. นครปฐม: คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

ศุกลรัตน์ บุณยยาตรา, สุวิชา เกษมสุวรรณ, วลาสินี มูลอามาตย์, กนกอร เอื้อเกษมสิน, ภาณุวัฒน์ แย้มสกุล, ศิริพร เพียรสุขมณี และคณะ. การคาดการณ์กำลังคนทางด้านอาชีพสัตวแพทย์ ปีพ.ศ.2568. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(2):232-44.

กรมการจัดหางาน. คู่มือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน; 2559.

Best, J. W. Research in Education.3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

กองกิจการนักศึกษา. คู่มือนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

รมย์รัมภา ณัฐธัญอติรุจ. การบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย 2562;10(2):11-23.

นราธิป ธีรธนาธร. ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบนที่มีต่อการประกอบอาชีพ.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2561;29(2):96-110.

เสฎฐวุฒิ หนุ่มคํา และ สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของบัณฑิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 2557;7(2):160-7.

ภาณุวัฒน์ สว่างแสง. ปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนิสิตในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2561. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2562;38(2):84-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-27