ผลของกิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการต่อการมีส่วนร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษาปริญญาเอก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

-

ผู้แต่ง

  • ไพลิน บุนนาค งานบริการการศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, กิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการ, นักศึกษาปริญญาเอก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาเอกต่อกิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการ โดยกลุ่มตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาเอกที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งสิ้น 21 คน แบ่งเป็นนักศึกษาไทย จำนวน 12 คน และนักศึกษาต่างชาติ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาปริญญาเอกมีระดับความพึงพอใจมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.50 – 4.49) ต่อกิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการทั้ง 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 (Workshop and Special Talk) และ กิจกรรมที่ 2 (Academic Proficiency Development Program และ Progress Report Program) ซึ่งประเมินจากระดับความพึงพอใจของกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านประเด็นความพึงพอใจ 3 ข้อ ได้แก่ (1)กิจกรรมที่ทางหลักสูตรจัดขึ้นตรงตามความคาดหวังของนักศึกษา
(2)ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม และ(3)นักศึกษาเต็มใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

References

สมาน อัศวภูมิ. การศึกษาไทย 4.0 : แนวคิดและทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาไทย.วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์2560;1(1):1– 11.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

กองแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561– 2580). มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

งานนโยบายและแผน. แผนยุทธศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล พ.ศ.2563-2567. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

Education Services Department. 2019. Doctor of Philosophy Program in Environment and Resource Studies (International Program). Retrieved June 6, 2019, Faculty of Environment and Resource Studies [Accessed on July 17,2562].Access from https://bit.ly/2LvI1ke

วิเชียร เกตุสิงห์. หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช; 2530.

พรศิริ พันธสี และ อรพินท์ สีขาว. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2552;24(3):81–93.

ประจวบ เพิ่มสุวรรณ. 2553. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้วิธีกรณีศึกษา [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2Gh3eLF

วันเพ็ญ โพธิ์เกษม ขนิษฐา กุลนาวิน กฤติกา เผื่อนงูเหลือม และประภานุช ถีสูงเนิน. ศึกษาความพึงพอใจวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาในวิชาสัมมนาของโปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2559;3(2):134–145.

วันเพ็ญ สุลง. การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์วิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28