การนำนโยบายด้านความยั่งยืนทางการเงินไปสู่การปฏิบัติของบุคลากร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • กวิน ปลาอ่อน งานแผนและพัฒนาคุณภาพ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความยั่งยืนทางการเงิน, การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ, การควบคุมต้นทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายด้านความยั่งยืนทางการเงินไปสู่การปฏิบัติของบุคลากร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 201 คน  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทิศทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรมีการนำนโยบายด้านความยั่งยืนทางการเงินไปสู่การปฏิบัติในระดับมาก โดยวิธีที่บุคลากรนำไปปฏิบัติมากที่สุด คือ การปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพให้คุ้มกับเวลาและค่าจ้าง บุคลากรที่สังกัดหน่วยงานที่แตกต่างกัน มีระดับการนำนโยบายด้านความยั่งยืนทางการเงินไปสู่การปฏิบัติแตกต่างกันใน 3 วิธีการ คือ  การควบคุมต้นทุนในการดำเนินงาน  การแสวงหารายได้เพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่  และการใช้งบประมาณตามแผนที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการนำนโยบายด้านความยั่งยืนทางการเงินไปสู่การปฏิบัติของบุคลากรต่อไป

References

1. โพสต์ทูเดย์. หลักสูตรอินเตอร์ ทางเลือกอนาคตของเด็กไทย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2561].เข้าถึงได้จาก:https://www.posttoday.com/life/life/515401
2. Thanyawat Ippoodom.วิกฤติมหาวิทยาลัยไทยเมื่อสถาบันการศึกษาทำสงครามแย่งชิงนักเรียนเพื่อการอยู่รอด [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2561].เข้าถึงได้จาก:https://thematter.co/pulse/war-of-thai-university/25611
3. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ 2560. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
4. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล.แผนปฏิบัติการและรายงานผลการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2560. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
5. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนปฏิบัติการและรายงานผลการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2561. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
6. ทรงธรรม สุขสว่าง และทวีหนูทอง. การประเมินความยั่งยืนด้านการเงินเพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.th.undp.org/content/dam/thailand/docs/Financial%20Scorecard.pdf
7. Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and RowPublication; 1973.
8. วรรณา จีรุพันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีนโยบายแก๊สโซฮอล์. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.
9. อลิสรา กังวล. การนํานโยบายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไปปฏิบัติ ศึกษากรณีธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2559.
10. กวิน ปลาอ่อน. การรับรู้และเข้าใจเรื่องทิศทางองค์การของบุคลากร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 เรื่อง น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561]; 10:1591-8. เข้าถึงได้จาก: https://dept.npru.ac.th/conference10/
11. กวิน ปลาอ่อน. ผลของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ต่อการรับรู้และการนำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติของพนักงานสายสนับสนุน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2561];4:240-58.เข้าถึงได้จาก:https://www.r2r.mahidol.ac.th
กรอบแนวคิดการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-23