กระบวนการพัฒนาแผนแม่บทงานวิจัยสำหรับองค์กรอย่างมีส่วนร่วมในคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ:
แผนแม่บท, การมีส่วนร่วม, งานวิจัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนแม่บทงานวิจัย โดยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการจัดสนทนากลุ่มและอภิปรายกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารงานวิจัย กรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัย นักวิจัย ผู้ประสานงานวิจัย และหัวหน้างานสนับสนุนภายในองค์กร ผลการศึกษาพบว่าแผนแม่บทงานวิจัยสำหรับองค์กรสามารถแบ่งเป็น 4 ส่วน คือส่วนที่ 1 การพัฒนานโยบายการวิจัย ได้แก่ การแสวงหาแหล่งทุน การสร้างความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริหารงานวิจัยตามศักยภาพ ส่วนที่ 2 การพัฒนาทิศทางการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเพื่อสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจระดับชาติ การวิจัยเพื่อตอบโจทย์ประเด็นสังคม และการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ส่วนที่ 3 การพัฒนาแผนปฏิบัติการ ได้แก่ การบริหารงานวิจัยตามยุทธศาสตร์ การสร้างความพร้อมบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การดำเนินโครงการ/แผนงานต่อเนื่อง การถ่ายทอดและเผยแพร่ผลงาน และการบริหารผลประโยชน์จากงานวิจัย และส่วนที่ 4 การขับเคลื่อนและการประเมินผล โดยองค์กรต้องสร้างกลไกขับเคลื่อนแผนแม่บทสู่การปฏิบัติโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรตั้งแต่ระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ รวมทั้งประเมินความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการ ตามกรอบระยะเวลา จากผลลัพท์ของตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
หลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารปาริชาติ. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560]; 23: 81-100. เข้าถึงได้จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/parichartjournal/issue/view/6617
2. นิโรจน์ ไทยทอง. การสร้างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560]; 4: 32-47. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/
Itech/article/view/29532
3. พสุ เดชะรินทร์. ชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์กตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัด
การภาครัฐ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรินท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด; 2551.
4. วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์, กฤษณา สุวรรณภักดี, พรพรรณ ปริญญาธนกุล, พรทิพย์ นุกูลวุฒิโอภาส. การวางแผนกลยุทธ์ ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด; 2546.
5. สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579).กรุงเทพฯ:โคคูน แอนด์ โค จำกัด; 2560.
6. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560-2564) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก https://op.mahidol.ac.th/ra/research_policy/
7. Chofreh, A.G., Goni, F. A., Ismail, S., Shaharoun,M. A., Klemes, J. J., Zeinalnezhad, M. A master plan for the implementation of sustainable enterprise resource planning systems (part I): concept and methodology. Journal of Cleaner Production [Internet]. 2016 [cited 2018 Feb 5];136:176-182. Available from: https://www.sciencedirect.com/science
/article/pii/S0959652616306126
8. Chofreh, A.G., Goni, F. A., Klemes, J. J. Development of a roadmap for Sustainable Enterprise Resource Planning systems
implementation (partII) .Journal of Cleaner
Production [Internet]. 2017 [cited 2018 Feb 5];166:425-437.Available from: https://
www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0959652617317535
9. Chofreh, A.G., Goni, F. A., Klemes, J. J., A roadmap for Sustainable Enterprise Resource Planning systems implementation (part III). Journal of Cleaner Production [Internet]. 2018 [cited2018Feb5];174:1325-1337. Available
from: https://www.sciencedirect.com/science
/article/pii/S095965261732591X
10. Suvi Konsti-Laakso, T. Rantala, Managing community engagement: A process model
for urban planning. European Journal of Operational Research. 2018 [cited 2018 Apr 19];268:1040-1049. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0377221717310846

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล