การพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ ความถนัดทางการเรียนตามทฤษฎี 4 MAT โดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีต้นไม้

ผู้แต่ง

  • Kanittha Deesubin สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/jli.2017.9

คำสำคัญ:

ความถนัดทางการเรียน, ต้นไม้ตัดสินใจ, ทฤษฎี 4 MAT, forecast aptitude of learning, 4 MAT theory, decision tree

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ความถนัดทางการเรียนตามทฤษฎี 4 MATโดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีต้นไม้ ในการสร้างและทดสอบตัวแบบพยากรณ์ ผู้วิจัยใช้โปรแกรม WEKA ในการสร้างตัวแบบด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ (Decision TreeTechnique) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ (Classification) และวิธีการเรียนรู้ (Learning Methods) โดยใช้ J48 (อัลกอลิธึม C4.5 Version 8.0) ในการเรียนรู้ (Learning) จาก Train Dataset และสร้างแบบจำลองต้นไม้เพื่อการจำแนกกลุ่มข้อมูลสำหรับนำไปใช้เป็นอัลกอลิธึม บนเว็บที่จะพัฒนาต่อไปเป็นโมดูลบนเครือข่ายโดยตัวแบบที่ได้จะอยู่ในรูปแบบของกฎการจำแนกประเภทข้อมูลจากการเรียนรู้ด้วย ชุดการเรียนรู้ (Training set) แล้วนำไปทดสอบด้วยชุดทดสอบ (Test data)โดยใช้วิธีการตรวจสอบไขว้ (K-fold cross-validation) และวิธีการแบ่งข้อมูลแบบสุ่มด้วยการแบ่งเป็นร้อยละ (Percentage Split) ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบการพยากรณ์ความถนัดทางการเรียนตามทฤษฎี 4 MATที่ถูกพัฒนาด้วยวิธีการแบ่งข้อมูล ชุดการเรียนรู้และทดสอบออกจากกันมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าตัวแบบที่พัฒนาด้วยวิธีอื่น โดยมีค่าความถูกต้องเท่ากับ 77.65 %ค่าความแม่นยำเท่ากับ 77.90 % ค่าความระลึกเท่ากับ 77.65 % และค่าความถ่วงดุลเท่ากับ 77.40 % แสดงว่าวิธีการแบ่งข้อมูล ชุดการเรียนรู้และทดสอบออกจากกันสามารถนำไปใช้พัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ความถนัดทางการเรียนรู้ตามทฤษฎี 4 MAT โดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีต้นไม้ที่มีความถูกต้องและแม่นยำในการทำนายความถนัดทางการเรียนตามทฤษฎี 4 MAT ได้เป็นอย่างดี

References

สุขชาตรี ประสมสุข. การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree learning). (ม.ป.ป.).สืบค้นจาก https://www.ict.up.ac.th/skchatri/subject 6/ Chapter7_DecisionTreeLearning.pdf

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2553). วิธีจัดการเรียนรู้. กรูงเทพๆ: บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด, 2553.

อดุลย์ ยิ้มงาม. การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining). (2556). สืบคันจาก https:// compcenter.bu.ac.th/ index.php?option=๐วทา_content&task =view&id=75&ltemid=172

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-11

How to Cite

Deesubin, K. (2017). การพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ ความถนัดทางการเรียนตามทฤษฎี 4 MAT โดยการวิเคราะห์ด้วยวิธีต้นไม้. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1), 45–58. https://doi.org/10.14456/jli.2017.9