ผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้แผนที่ความคิดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jli.2016.10คำสำคัญ:
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ, การใช้แผนที่ความคิด, และการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้แผนที่ ความคิดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือวิจัย คือ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามประเมินโครงการ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งเป็น แบบรายงานการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักศึกษา มจธ. ที่เข้าร่วมในโครงการ จำนวน 53 คน วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมและผ่านการอบรม มีความพึงพอใจและได้รับประโยชน์โดยรวมจากการเข้าร่วมโครงการฯ ในระดับมากที่สุด (= 4.40) และจากผลการสะท้อนเรียนรู้แบบย้อนมองตนและใคร่ครวญภายในของนักศึกษา ปรากฏว่านักศึกษามีการเรียนรู้ตามกรอบคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ (KMUTT-STUDENT QF) ในด้านศักยภาพความสามารถดังนี้ คือ การคิดอย่างมีเหตุผล (92.45%) การถ่ายทอดความคิดและนำเสนอ (100%) การสื่อสาร (84.91%) และยังมีการเรียนรู้ด้านอื่นๆ (60.38%) อาทิเช่น ในเรื่องความเป็นผู้นำความสามัคคี และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับข้อเสนอแนะสำคัญจากการวิจัย คือ ควรมีการติดตามตรวจสอบผลการเรียนรู้ การนำแผนที่ความคิดไปใช้ในทางปฏิบัติ จริงของนักศึกษาผู้เข้าอบรมต่อไป
References
การฝึกอบรม. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://www.honor.co.th/images/0- Academ ic/Train i ท g/0 4-A_TN. pdf
โครงการการผึเกอบรมเชิงปฏิบติการเรื่องการใช้แผนที่ความคิด. (2558). เอกสาร ประกอบและรายงานผลโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้แผนที่ความคิด (Mind mop workshop). กรุงเทพฯ: คณะคิลปศาสตร์ สายสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
จักกาคม มหิสรากุล. (2557). ความ(ไม่)รู้ของผู้ทำนาย: การสืบด้นตัวตนจากเรื่องเล่าบนฐานของอัตชีวประวิติ. (วิทยานิพนร์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
จุรีพร กาญจนการุณ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
จุรี'พร กาญจนการุณ. (2556). การเรียนรู้คุณธรรมผู้นำสิบประการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่านการรีบพึงการบรรยาย พระราซ,ประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 ประจำปี 2556, (หน้า 221-233). ธรรมราซา กรุงเทพมหานคร.
จุรี'พร กาญจนการุณ. (2558). การสะท้อนการเรียนรู้แบบย้อนมองตน และใคร่ครวญ ภายในของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภายหลัง การจัดดำเนินการโครงงานสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ,15(1), 135-143.
ธนา นิลขัยโกวิทย์ และคณะ. (2551). งานพลังกลุ่มและความสุข:โครงการวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการแนวจิตตปีญญาศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม.
เรื่องที่ผู้จัดโครงการแกอบรมควรรู้. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/train/handbook/training.html
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งซาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพุทธศักราช2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟพิเค.
สำนักงานพัฒนาการศึกษาและบริการ. (2558). กรอบคุณลักษณะบัณฑิตอันพึง ประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT-STUDENT QF). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการศึกษาและบริการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Ambrose, ร. A. (2010). How Iearning works: Seven research-based principles for smart teaching. San Francisco: John Wiley & Sons.
Bertalanffy, V. L. (1968). General systems theory. New York: Braziller.
British Council (BBC.), (n.d.). Using mind maps to develop writing. Retrieved from https://www.teachingenglish.org.uk/article/using- mind-maps-develop-writing
Donald, H. F. & Richard, M. L. (1999). Developmental systems theory. London, England: SAGE Publications.
Harbison, F. & Myers, c. (1964). Education, manpower and economic growth. Strategies of Human Resources development. New York, Me Grow Nill Book Company.
Littlejohn, S.W. (2001). Theories of human communication. Belmont CA: Wadsworth/Thomson Learning.
Tony, B. (n.d.). Learn to mind map. Retrieved from https://www.tonybuzan. com/about/mind-mapping/
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรุ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จ้อต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อนเท่านั้น