ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT (LEARNING TOGETHER) ร่วมกับผังความคิดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jli.2020.3คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT, ผังความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับผังความคิด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
Chaithada, P. (2019). Kānphatthanā phon samrit thāngkān rīan læ khwāmphưngphō̜čhai khō̜ng naksưksā tō̜ kānčhatkān rīanrū bǣp rūammư̄ ( Cooperative Learning ) nai rāiwichā patibatkān khēmī sō̜ng hūakhō̜ kāntē rī yom sānlalāi khō̜ng naksưksā Khana Kharusāt mahāwitthayālai rātchaphat ืnakhō̜n sī tham rāt [Development of Student Achievement and Satisfaction of Cooperative Learning for the Students in Faculty of Education, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University: A Case Study of the Preparation of solution in Chemistry Laboratory II Course]. Journal of Learning Innovations Walailak University, 5(2), 55–64.
Khemmani, T. (2018). sāt kānsō̜n ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp [Science of Teaching: Knowledge of Efficient Learning Process Managemen] (11th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Konklong, N., Tientongdee, Sumalee Lee, A., & Ratniyom, J. (2019). Phon khō̜ng kānčhatkān rīanrū bǣp rūammư̄ dōi theknik STAD tō̜ phon samrit thāngkān rīan læ khwāmsāmāt nai kān khit kǣ panhā khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī nưng rāiwichā witthayāsāt nai nūai kān rīanrū rư̄ang sān nai chīwit pračham wan [Effects of STAD–Cooperative Learning Method on Grade 7 Students’ Science Learning Achievement and Problem–Solving Abilities in the Unit of Substances in Daily Life]. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 10(1), 66–78.
Ministry of Education. (2017). Laksūt kǣn klāng sō̜ngphanhārō̜ihāsipʻet chabap prapprung sō̜ngphanhārō̜ihoksip [The Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (Revised Edition 2560). Bangkok: The Agriculture Co-operative Fere- deration of Thailand Printing.
National Institute of Educational Testing Service. (2018). Sarup phonlakā rot da sō̜p thāngkān sưksā radap chāt khan phư̄nthān (O-NET) chan matthayommasưksā pī thī sām pīkānsưksā sō̜ngphanhārō̜ihoksipʻet [Summary of Ordinary National Education Test Report Academic Year 2017]. Retrieved from http://www.newonetresult.niets.or.th/ AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2560.pdf
Payaka, A., Nanthamathee, C., & Kueseng, P. (2018). kānchai phǣnthī khwāmkhit phư̄a sœ̄msāng khwāmkhaočhai khō̜ng phū rīan khwō̜ntamkhēmī [Using Mind Maps to Reinforce the Student Understanding of Quantum Chemistry]. Journal of Learning Innovations Walailak University, 4(2), 35–57.
Phisluuem, N., Pattiyathanee, S., & Thunapan, M. (2018). Kānprīapthīap kān khit wikhro̜ khwāmsāmāt nai kān kǣ čhōt panhā thāng khanittasāt læ phon samrit thāngkān rīan khanittasāt rư̄ang kān wikhro̜ khō̜mūn bư̄angton klum sāra kān rīanrū khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī hā thī mī kānčhat kitčhakam kān rīanrū bǣp rūammư̄ rūam kan ( LT ) kap kān rīan rū bǣp pakot [Comparisons of Analytical Thinking , Mathematics Problem-Solving and Mathematics Achievement in Preliminary data analysis of Matthayomsueksa 5 Students with Cooperative Learning Together (LT) activities and Learning normal]. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 22(special), 174–185.
Pimhom, B., Chanroung, Y., & Tengtragul, A. (2017). Kānprīapthīap phon samrit thāngkān ʻān čhapčhai khwām khō̜ng nakrīan chan prathomsưksā pī thī hā rawāng kānčhatkān rīanrū dōi chai phǣnphang khwāmkhit kap kānčhatkān rīanrū bǣp rūammư̄ theknik STAD [Comparison of Learning Outcomes on Reading Comprehension of Prathom 5 Students under Learning Management Based on Mind Mapping versus STAD Techniques]. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University, 10(1), 57–70.
Poonputta, A. (2019). Kānprīapthīap thaksa kānsāng khrư̄angmư̄ pramœ̄nphon kān rīanrū thaksa kānthamngān pen thīm læ phon samrit thāngkān rīan wichākān wat læ pramœ̄nphon kānsưksā khō̜ng nisit rawāng kān rīan dōi chai bǣp fưk prakō̜p kānčhatkān rīanrū kap klum rūammư̄ bǣp LT kap kānsō̜n bǣp klum pakati [The Comparisons of Skills in Inventing Instruments of Students for Learning Assessment, Teamwork Skills and Learning Achievement in “Educational Evaluation” between On-Going Learning by Using Exercises of LT Collaborative Learning Model and Conventional Method]. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 9(2), 107–120.
Promseurb, J. (2016). Kānsưksā phon samrit thāngkān rīan læ khwāmphưngphō̜čhai khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī nưng dūai kānčhat kitčhakam kān rīanrū bǣp rūammư̄ dōi theknik bǣng klum khla phon samrit ( STAD ) rāiwichā witthayāsāt nūai kān rīanrū rư̄ang sānlalāi krot læ bēt [A study of learning achievement and satisfaction of m.1 studys by the cooperative learning: student teams - achievement division (STAD) in science subject: acid - base solution] (Master’s thesis). Chon Buri, Thailand: Burapha University.
Rinposan, W., Jantharajit, N., & Sathapornwong, P. (2012). [Comparisons of Learning Outcomes of Prathomsueksa 5 Students between Using Organization of CIPPA Learning Model and LT Technique Cooperative Learning in Career Working and Technology Strand]. Journal of Administration and Development, Mahasarakham University, 4(2), 120–134.
Sooksomsod, W., Anantaruk, M., & Amornphan, S. (2011). Prīapthīap phon samrit thāngkān rīanrū rư̄ang rǣng læ khwām dan khwāmsāmāt dān kān khit wikhro̜ thaksa krabūankān thāng witthayāsāt khan phư̄nthān klum sāra kān rīanrū witthayāsāt chan prathomsưksā pī thī hā rawāng kānčhatkān rīanrū bǣp wattačhak kān rīanrū čhet khan ( čhet Es ) rūam kap phǣnphang khwāmkhit ( Mind Map ) kap kānčhatkān rīanrū tām pakati [A comparison of Learning proficiency in science: Force and Pressure AnalyticaI Thinking Ability’ Fundamental Science Process of Students in Prathomsueksa 5 Between Learning Cycle (7Es) Cooperated with Mind Mapping and a Regular Learning Activity]. Journal of Administration and Development, Mahasarakham University, 3(1), 89–103.
Sunthornrot, W. (2010). Kānʻō̜kbǣp kānčhatkān rīanrū tām nǣokhit bǣp Backward design [Learning management design based on Backward design concept]. Kalasin: Prasaan Press.
Susoarat, P. (2013). Kānphatthanā kān khit [The development of thinking (5th ed.)]. Bangkok: Partnership Limited 9119 Printing Technique.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). Sarup khō̜mūn bư̄angton PISA sō̜ngphansiphā [Summary of PISA 2015].Retrieved from https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa-2015-basic-summary/
Trairut, N. (2010). Phon khō̜ng ʻilœ̄n ning thī chai theknik kān radom samō̜ng læ phǣnphang khwāmkhit thī mī tō̜ khwāmsāmāt nai kān khīan chœ̄ng sāngsan khō̜ng naksưksā parinyā bandit thī mī bukkhalikkaphāp tǣktāng kan [Effects of E-learning using brainstorming and mind mapping techniques on creative writing abilities of undergraduate students with different personalities] (Master’s thesis). Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University.
Yakha, A. (2017). Kānčhatkān rīanrū dōi chai theknik LT ( Learning Together) phư̄a phatthanā thaksa kān khit læ phœ̄m phon samrit thāngkān rīan wichā khēmī khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sī [Learning management by using it technique (learning together technique) for higher under thinking skill development and increase academic chemistry achievement of matthayomsuksa 4]. Journal of Learning Innovations Walailak University, 3(1), 31–42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรุ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จ้อต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อนเท่านั้น