การรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jli.2019.8คำสำคัญ:
การรู้ดิจิทัล, เทคโนโลยีสารสนเทศ, พฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยจำแนกตามหลักสูตร กลุ่มสาขาวิชา และสำนักวิชา 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการสอบวัดการรู้ดิจิทัล 3) หาความสัมพันธ์ของระดับการรู้ดิจิทัลกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 4) ศึกษาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,220 คน โดยนำผลการสอบวิเคราะห์ร่วมกับแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สอบ ทำการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคว์สแควร์และค่าสถิติสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าสอบร้อยละ 73.77 สอบผ่านที่คะแนน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป การจำแนกผู้ที่สอบผ่านตามช่วงคะแนนพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการรู้ดิจิทัลต่ำที่คะแนน 50-54 เปอร์เซ็นต์ (ร้อยละ 30.92) รองลงมาคือคะแนน 55-59 เปอร์เซ็นต์ (ร้อยละ 27.92) ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ หลักสูตร สำนักวิชา เกรดเฉลี่ยของวิชากลุ่มคอมพิวเตอร์ จำนวนชั่วโมงในการใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อวัน และลักษณะกิจกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับการรู้ดิจิทัลของผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนในทิศทางบวก (r = 0.393) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะจากผู้ที่สอบไม่ผ่านต้องการให้จัดอบรมเสริม (ร้อยละ 60.78) และมีระบบออนไลน์เพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง (ร้อยละ 24.43) ส่วนอุปสรรคต่อการรู้ดิจิทัลที่สำคัญ คือ ปัญหาอินเทอร์เน็ตช้า (ร้อยละ 76.70) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีปัญหา (ร้อยละ 74.78)
References
https://www.researchgate.net/publication/277651580_An_overview_of_the_world_of_MOOCs
ILDC Thailand. (2017). Digital Literacy Project. Retrieved 6 July 2018, from https://www.icdlthailand.org/dl.
Karpati, A. (2011). Digital literacy in education. Retrieved 5 February 2018, from https://iite.unesco.org/pics/publications/en/files/3214688.pdf.
Leenaraj, P. (2017). Digital lLiteracy skill for developing learning quality. T.L.A. Bulletin. 61(2), 76-92.
MediaSmarts. (2017). Digital Literacy Fundamentals. Retrieved 5 February 2018from https://mediasmarts.ca/digital-media-literacy-fundamentals/digital-literacy-fundamentals.
Ministry of Information and Communication Technology. (2016). Digital Economy Plan. Retrieved 6 July 2018, from https://www.ega.or.th/upload/download/file_9fa5ae40143e13a659403388d226efd8.pdf
National Science and Technology Development Agency. (2015). Digital literacy. Retrieved 10 January 2018, from https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/142-knowledges/2632.
Saechan, T. & Morsorn, T. (2016). Digital Literacy : Definition, Component and Current Situation. Journal of Information Science, 34(4), 116-145.
Techataweewan, W. & Prasertsin, U. (2016). Digital Literacy Assessment of the Undergraduate Students of the Universities in Bangkok and Its Vicinity. Journal of Information Science, 34(4), 1-28.
Ting, Y. L. (2015). Tapping into Students’ Digital Literacy and Designing Negotiated Learning to Promote Learner Autonomy. Internet and Higher Education, 26, 25-32.
Wongya, N. (2018). A Guide to Developing Digital Literacy Skills of Digital Native. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1630-1642.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรุ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จ้อต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อนเท่านั้น