ถอดบทเรียนการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนผ่านกิจกรรม 7 ฐานของโรงเรียนบ้านหินผุด ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jli.2018.10คำสำคัญ:
การถอดบทเรียน, การพัฒนา, ทักษะชีวิต, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 ผ่านกิจกรรมนอกชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านหินผุด ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 31 คน โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหินผุด 1 คน อาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรม 10 คน และผู้ปกครอง จำนวน 5 คน การสนทนากลุ่มกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 จำนวน 15 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหินผุด ได้รับพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรม 7 ฐาน ได้แก่ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การปลูกพืชสวนครัว การเพาะเห็ดนางฟ้า การปลูกไม้ผล การทำแก๊สชีวมวล และการทำปุ๋ยหมักน้ำและปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 7 ฐาน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนในด้านต่าง ๆ คือ การตัดสินใจอย่างรอบคอบ รู้จักการแก้ปัญหา สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างสร้างสรรค์ พร้อมสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลระหว่างนักเรียน ครู ตระหนักรู้ในตนเอง และสามารถเข้าใจผู้อื่น กิจกรรมทั้ง 7 ฐานนี้ยังช่วยให้นักเรียนเกิดกระบวนเรียนรู้และเกิดทักษะชีวิต สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
Duangwiset, B. & Sitthisomboon, M. (2017). kanphatthana rupbæp kanso̜n bæp nen prasopkan phưa songsœm thaksa chiwit samrap naksưksa khru mahawitthayalai ratchaphat [The Development an Instructional Model by Using Experiential Learning Enhancing Life Skills for Student Teachers in Rajabhat University]. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 23(1), 67-84.
Jiradetprapai, S., Borisuth, C., Suksawat, P., Hongwachin, Y. & Ruangsin, S. (2017). kanphatthana khunnaphap kansưksa thi so̜tkhlo̜ng kap tho̜ngthin phak tawan o̜k [The Education Quality Development which is Congruent with The Localities of The Eastern Part]. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science, 12(2), 221-234.
Kitwongsakorn, R. (2014). kansưksa phonlaka raphat na chiwit kho̜ng nakrian chan prathomsưksa pi thi hok rongrian bang chak ( komon prasœt ʻuthit ) nakngan khet phasi charœn Krung Thep Maha Nakho̜n [A study on the Results of Life Skills Development of Prathom 6 Students at Bangjak (Komolprasertuthit) School, Phasichareon Distric]t. (Master’s Thesis). Bangkok, Srinakharinwirot University.
Office of the Education Council, The Ministry of Education.(2017). phænkan sưksa hæng chat Pho̜.So̜. so̜ngphanharo̜ihoksip so̜ngphanharo̜ichetsipkao [The National Scheme of Education B.E. 2560-2579 (2017-2036)]. Bangkok: Prikwarn Graphic. (in Thai)
Srichaliaw, T., Jomhongbhibhat, B. & Gumjudpai, S. (2017). kanphatthana thaksa chiwit kho̜ng nakrian chan prathomsưksa pi thi si - hok doi chai kanwichai patibatkan bæp mi suan ruam [Life Skills Deverlopment for Prathomsukka 4-6 Students Using Participatory Action Research]. Journal of graduate studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 11(2), 61-74.
Suwanno, P. & Sintana , S. (2018). kansưksa phon samrit thangkan rian læ thaksa kanwichai kho̜ng naksưksa chan pi thi si mahawitthayalai ratchaphat ya la [The Study of Learning Achievement and Research Skills of the Fourth Year Students at Yala Rajabhat University with a Learning and Teaching Focused on Research-Based Learning]. Journal of Yala Rajabhat University, 13(1), 161-169.
Usoh, S., Titirawiwong, S. & Chonpracha, S. (2013). rupbæp kitchakam phatthana thaksa chiwit si H samrap yaowachon nai chumchon khet mưang ko̜rani sưksa thetsaban nakho̜n ya la [Model of Activity for Life Skills 4H Development of the Youthin Urban Community: Case Study of Yala Municipality]. AL-NUR Journal of Graduate School, Fatoni University, 8(15), 65-79. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรุ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จ้อต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อนเท่านั้น