วิถีเมืองและความเป็นปัจเจกในวรรณกรรณไทยร่วมสมัย: การศึกษาเปรียบเทียบ 29 กุมภา ฯ และ เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์

Authors

  • สุรเดช โชติอุดมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

Abstract

การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนวนิยายเรื่อง 29 กุมภาฯ ของเกรียงไกร วชิรธรรมพรและ เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์ของภาณุ ตรัยเวช ทำให้เข้าใจถึงสภาพของเมืองที่เข้ามากำหนดลักษณะของความเป็นปัจเจกของตัวละครในพื้นที่เมือง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่นวนิยายเรื่อง 29 กุมภาฯ แสดงให้เห็นถึงการยอมรับซึ่งชะตากรรมของความโดดเดี่ยวและสิ้นหวัง อันเนื่องมาจากสภาพการดำรงชีวิตในเมืองที่เน้นซึ่งภาวะความเป็นปัจเจกและความแตกต่าง นวนิยายเรื่อง เด็กกำพร้าแห่งสรวงสรรค์ กลับเผยให้เห็นถึงความสามารถของตัวละครที่เข้าไปจัดการและควบคุมชะตากรรมของคนรอบข้างได้ เนื่องจากพิจารณาว่ากฎเกณฑ์และความจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองนั้นเป็นสิ่งประกอบสร้างของมนุษย์

 

Urbanism and Individuality in Contemporary Thai Literature:A Comparative Study of 29 February and Heavenly Orphans

This comparative study of 29 February(Yi Sip Kao Kum Pa) by Kriangkrai Wachirathammaporn and Heavenly Orphans (DekKampraHaengSuangsawan) by Phanu Traiwet reveals how an urban setting determines the formation of individuality among the city-dwelling characters. However, while the former displays the fatalistic acceptance of loneliness and despair that befalls all the novel’s major characters, the latter shows the ability of a character who manages to rise above such fatalism and control the fate of those around him due to his understanding that urban rules and reality are human constructs.

Downloads

How to Cite

โชติอุดมพันธ์ ส. (2016). วิถีเมืองและความเป็นปัจเจกในวรรณกรรณไทยร่วมสมัย: การศึกษาเปรียบเทียบ 29 กุมภา ฯ และ เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์. Journal of Letters, 39(2), 148–178. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/53212