พฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระในคำสองพยางค์ภาษามลายูถิ่นปัตตานีและ ภาษาอูรักลาโวยอ์

Authors

  • ณัฐพล พึ่งน้อย นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภาษามลายูถิ่นปัตตานี, ภาษาอูรักลาโวยอ์, ค่าความถี่มูลฐาน, พยางค์เน้น, พยางค์ลงน้ำหนัก, ภาษาระดับเสียง-ลงเสียงหนักเบา, Pattani Malay, Urak Lawoi’, fundamental frequency, long initial consonant, stress

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระในคำสองพยางค์ภาษามลายูถิ่นปัตตานีและภาษาอูรักลาโวยอ์ โดยวิเคราะห์การออกเสียงของผู้บอกภาษา ภาษาละ 7 คน ด้วยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ จากผลการวิจัย พบว่า ค่าความถี่มูลฐานของสระในพยางค์เน้นที่มีพยัญชนะต้นเสียงยาวในภาษามลายูถิ่นปัตตานีสูงกว่าของสระในพยางค์ไม่เน้นที่มีพยัญชนะต้นเสียงสั้นส่วนในภาษาอูรักลาโวยอ์ พบว่า สระในพยางค์เน้นมีค่าความถี่มูลฐานสูงกว่าของสระในพยางค์ไม่เน้น ผลการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ สะท้อนให้เห็นว่าพยางค์เน้นในภาษามลายูถิ่นปัตตานีและภาษาอูรักลาโวยอ์มีระดับเสียงสูงกว่าพยางค์ไม่เน้น รูปแบบดังกล่าวสอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างระดับเสียงสูงกับพยางค์ลงน้ำหนักในภาษาระดับเสียง-ลงเสียงหนักเบา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ที่เคยมีผู้ศึกษาไว้

 

The fundamental frequency behavior of vowels in disyllabic words in Pattani Malay and Urak Lawoi’

Natthaphon Phuengnoi

The aim of this study is to investigate the fundamental frequency behavior of vowels in disyllabic words in Pattani Malay and Urak Lawoi’ by analysing recordings of test words spoken by seven native speakers of each language. The results show that the fundamental frequency of vowels in stressed syllables with a long initial consonant in Pattani Malay is higher than that in unstressed syllables with a short initial consonant. In Urak Lawoi’, the fundamental frequency of vowels in stressed syllables is also higher than that in unstressed syllables. These findings indicate that vowels in stressed syllables of both languages have a higher pitch than unstressed syllables. The fundamental frequency behavior found in this research conforms to the relation between the high pitch and accented syllables in pitch-accent languages, such as Japanese, as shown in other previous studies.

Downloads

How to Cite

พึ่งน้อย ณ. (2016). พฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระในคำสองพยางค์ภาษามลายูถิ่นปัตตานีและ ภาษาอูรักลาโวยอ์. Journal of Letters, 40(1), 1–28. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51378