การพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา

Main Article Content

วิมพ์วิภา บุญกลิ่น
มณฑิรา จารุเพ็ง
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาครู และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และการติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใช้เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาโปรแกรม ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 8 คน และกลุ่มที่ 2 ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาครู และโปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา มีคุณภาพของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.73, SD=0.48) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีจำนวน 14 ครั้ง โดยมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยามาใช้ในการฝึกอบรม และ 2) นักศึกษาครูที่เข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยามีสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และการติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บุญกลิ่น ว., จารุเพ็ง ม., & ศรีสวัสดิ์ พ. (2024). การพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวของผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(3), 403–416. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/278510
บท
บทความวิจัย

References

กฤตวรรณ คำสม. (2554). การศึกษาและการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาในการให้คำปรึกษาแก่เพื่อน (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมสุขภาพจิต. (2563). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient. กรุงเทพฯ:

บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

ชวนันท์ จันทร์สุข, นฤมล จันทร์สุข และอุษา ดำขำ. (2566). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 17(3), 1-13.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร แสงทอง. (2563). การเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกล วรเจริญศรี. (2559). จิตวิทยาสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.

สิรภัทร โสตถิยาภัย. (2560). การศึกษาและการเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

Amat, S., SitiHajar J., Mohd I. M. & Dharatun N. K. (2021). Model Development of Counseling Competency Dealing with Gay and Lesbian Client: Malaysia Perspective. Psychology and Education Journal, 58(2), 2137-2147.

Childers, J. H., & Couch, R. D. (1989). Myths about group counseling: Identifying and challenging misconceptions. Journal for Specialists in Group Work, 14(2), 105–111.

Corey, G. (2016). Theory & Practice of Group Counseling (9th ed). Boston: Cengage Learning Custom Publishing.

Ivers, N. N.; & Veach, L. J. (2012). Alcohol screening and brief counseling interventions for trauma unit patients. Counseling Today, 55, 38–41.

Jit, A.S. & Ramneet, K. (2021). Psychological Skills Training for Human Wellness. New Delhi: SAGE Publishing India.

Kampfe, C. M. (2015). Counseling older people: Opportunities and challenges. American Counseling Association. https://doi.org/10.1002/9781119222767

Kraiger, K., Passmore, J., Santos, N. R., & Malvezzi, S. (2015). The Wiley-Blackwell Handbook of the Psychology of Training, Development, and Performance Improvement. Chichester, UK: John Wiley & Sons, Ltd.

Latham, G.; & Wexley, K. (1991). Developing and Training Human Resources in Organization. New York: Harper Collins Publishers.

Myers, J. E., & Shannonhouse, L. R. (2013). Combating ageism: Advocacy for older persons. In C. C. Lee (Ed.), Multicultural issues in counseling: New approaches to diversity (4th ed.). Alexandria, VA: American Counseling Association.

Spencer, M.; & Spencer, M. S. (1993). Competence at work: Models for Superiors Performance. New York: John Wiley & Sons.

Van Agteren, J., Iasiello, M., & Lo, L. (2018). Improving the wellbeing and resilience of health services staff via psychological skills training. BMC research notes, 11, 1-5.