การศึกษาบริบทเชิงพื้นที่และคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านหลังเผชิญวิกฤตน้ำมันรั่ว ในทะเลเขตพื้นที่จังหวัดระยอง

Main Article Content

สุทธิพงศ์ ปานเพ็ชร
ศราวุฒิ อินทพนม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเชิงพื้นที่ ระดับคุณภาพชีวิตและความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านหลังเผชิญวิกฤตน้ำมันรั่วในทะเลในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในจังหวัดระยองที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังเผชิญวิกฤตน้ำมันรั่วในทะเล จำนวน 380 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากเลือกรายชื่อของชาวประมงพื้นบ้านตามทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกับกรมประมง เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นร่วมกับใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ ดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) บริบทเชิงพื้นที่ 3) คุณภาพชีวิตและ 4) ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทเชิงพื้นที่จังหวัดระยอง ชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาทำมาหากิน ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และการประกอบอาชีพ แสดงถึงการมีภูมิหลังที่เปราะบางตามมายาคติที่ทับซ้อนกันใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านภูมิประวัติศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสังคม ด้านการพัฒนา ด้านสุขภาพ และด้านอาชีพและการลงทุน 2) ระดับคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดระยอง อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านครอบครัว (equation=3.72, S.D.=0.73) ด้านสุขภาพ อนามัย และโภชนาการ (equation=3.24, S.D.= 0.64) และด้านชีวิตการทำงาน (equation=3.17, S.D.= 0.63) ตามลำดับ และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา (equation=2.92, S.D.= 2.69) ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน ( equation=2.92, S.D.= 0.64) ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ (equation =2.67, S.D.= 0.71 และด้านประชารัฐ (equation =2.48, S.D.= 0.78) ตามลำดับ 3) ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน สูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านชีวิตการงาน คิดเป็นร้อยละ 23.7, 16.8 และ 16.6 ตามลำดับ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยเสนอแนะว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านควรดำเนินการอย่างสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มีความต่อเนื่องและสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในทุกมิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ สวัสดิ์มงคล. (2550). ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ของผู้ประกอบการรถเอกชนร่วมบริการ ขสมก. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรมเจ้าท่า. (2565). กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการติดตามการกู้เรือ พร้อมขจัดคราบน้ำมันรั่วไหลกรณี เรือบรรทุก ป.อันมัน 2 อับปางกลางอ่าวไทย. ข่าวกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 4/2565. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565 จากhttps://md.go.th/department-news-department-announcement/

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2565). ระยอง. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565 จาก https://bigdata.dmcr.go.th/inner/province/12

กรมประมง. (2023). ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล เขต 1 (ระยอง) ร่วมตอนรับอธิบดีกรมประมง ในโอกาสนายกรัฐมนตรี พบปะกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน สวนสน-แกลง1 จ.ระยอง. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก https://www4.fisheries.go.th/dof/news_local/1323/86322

ขวัญชนก นัยจรัญ และกฤษณา ชาญณรงค์. (2561). บทบาทหน้าที่ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และ ศิลปะ, 11(3), 329-344.

จิรวัฒน์ จันทร์สว่าง. (2554). ประมงพื้นบ้าน. Veridian E-Journal SU กลุ่มศิลปะและการออกแบบ, 4(1), 261-274.

บีบีซี นิวส์ ประเทศไทย. (2023). น้ำมันรั่วระยอง: ผู้เชี่ยวชาญกังวลกับสภาพระบบทุ่นกลางทะเลและท่อใต้ทะเล. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-60217191

พงศ์เทพ แก้วเสถียร. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มประมงพื้นบ้านสู่การสร้างเครือข่ายชุมชนการจัดการทรัพยากรบึงขุนทะเล ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(2), 19-35.

ภัทราวดี มากมี. (2559). การประเมินผลกระทบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรณีปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหล จังหวัดระยอง: การวิจัยแบบผสานวิธี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(3), 1-18.

สมสิทธิ์ จิตรสถาพร. (2550). แนวโน้มของศูนย์สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน. (2542). วิกฤตการณ์ทรัพยากรประมงไทย. ภูเก็ต: องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรกรธรรมชาติอันดามัน.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.