การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร โดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ

Main Article Content

จิตสุภา แกมทับทิม
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
อรอุมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการของนักเรียนทหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร โดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการกลุ่มทดลอง ก่อน หลัง และติดตามผล 3) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร โดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อน หลัง และติดตาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนทหาร สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนทหาร จำนวน 14 นาย พิจารณาจากคะแนนความเข้มแข็งทางจิตใจตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 7 นาย กลุ่มควบคุม 7 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำแบบทางเดียว (One-way Repeated-measures ANOVA )และการวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำสองทาง Two-way Repeated-measures ANOVA การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการของนักเรียนทหาร มีจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที 2) การเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลของกลุ่มทดลอง พบว่า นักเรียนทหารในกลุ่มทดลอง มีความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=41.41 df=2 p=0.00) และ 3) การเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า นักเรียนทหารในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนทหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=37.57 df=1 p=0.00) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษากลุ่ม. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

พรพิพัฒน์ เบญญศรี. (2551). เตรียมทหาร เตรียมความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: อรุณ.

ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2565). ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษากลุ่มและจิตบำบัดกลุ่ม. มหาสารคาม: อภิชาต.

โรงเรียนเตรียมทหาร. (2542). สี่สิบสองปี โรงเรียนเตรียมทหาร. กรุงเทพฯ: แอนทีม ครีเอชั่น.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2565). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อรุณ ศาสราสิทธิกร และ นรชัย วงษ์ดนตรี. (2541). ปัจจัยสาเหตุให้นักเรียนเตรียมหทารใหม่ลาออก. เอกสารวิจัยนักศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหาร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

Corey, G. (2016). Theory and Practice of Group Counseling. (9th Edition). Belmont, CA: Brooks/Cole Thomson learning.

Jacobs, Ed E., Masson, Robert L., Harvill, Riley L., & Schimmel, Christine J. (2012). Group Counseling: Strategies and Skill. Seventh Edition. Belmont: Cengage learning.

John L., Clough. J., Crust. L., Keith. E., and Adam R. (2013). Factorial validity of the Mental Toughness Questionnaire-48. Journal of Personality and Individual Differences, 54(5), 587-592.

Kline, W. B. (2004). Interactive Group Counseling and Therapy. New Jersey: Pearson Education Ltd.

Macdonald., Alasdair J. (2007). Solution-Focused Therapy. London: SAGE Publication.

Marquis, A., Hudson, D., & Tursi, M. (2010). Perceptions of counseling integration: A survey of counselor educators. Journal of Counselor Preparation and Supervision, 2(1), 7.

Narcross and Newman. (1992). Integrative Psychotherapy Constructing Your Own Integrative. Approach to Therapy, 585 – 611.

Clough, P., & Strycharczyk, D. (2012). Developing mental toughness: Improving performance, wellbeing and positive behaviors in others. London: Kogan Page .

Shulman, L. (2011). Dynamics and Skills of Group Counseling. (International ed). United States CA: Brook/Cole.

Thompson, R.A. (2003). Counseling Techniques: Improving Relationships with Others, Ourselves, Our Families and Our Environment. 2nd ed. New York: Routledge/Taylor & Francis Group.