การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวคิดการมุ่งประสบการณ์ทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียนของนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวคิดการมุ่งประสบการณ์ทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียนของนักเรียน 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูตามแนวคิดการมุ่งประสบการณ์ทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียนของนักเรียน โดยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 กิจกรรม 2) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) แบบบันทึกข้อมูลการสังเกตชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : EI) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียนของนักเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การฝึกอบรมและให้ความรู้โดยใช้กิจกรรมฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการทดลอง และการสร้างชิ้นงาน ทั้งในลักษณะเป็นกลุ่มและงานเดี่ยว ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียนและการจัดการเรียนรู้ตามแผนในชั้นเรียน และขั้นตอนที่ 3 การติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียนของนักเรียน โดยคณะผู้วิจัย ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา 2. ดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาของครูเพื่อส่งเสริมทักษะ
การอ่าน เขียนของนักเรียน มีค่าเท่ากับ 0.6315 แสดงว่าครูมีความรู้และความสามารถเพิ่มขึ้น 0.6315 หรือคิดเป็นร้อยละ 63.15 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จตุพร มีสกุล และคณะ. (2565). การศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายภาคกลางตอนบน.วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(2), 177-191.
ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.
ฐิติวรรณ วัฒนรังสี. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาโดยใช้หนังสือประกอบการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 21-33.
ลลิตา สาสนทาญาติ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเขียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-12.
วทันยา ขำพงษ์ไผ่. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาร่วมกับสื่อประสมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านและแนวทางในการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สุวิมล ว่องวานิช. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563 (IMD 2020). นนทบุรี: 21 เซนจูรี่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับจังหวัดของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2550). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรตารีแห่งประเทศไทย.
อัคเรศ ทองลักษณ์ศฺิริ. (2549). ผลของการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาและการใช้แรงเสริมทางสังคมที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ
Ikwen, E.U. (2014). Effects of Concentrated Language Encounter Method in Developing Comprehension Skills in Primary School Pupils in Cross River State, Nigeria. A Journal of Contemporary Research, 11(1), 40-54.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. New York: Cambridge Book Co.
Unimuke, F. (31 March 2020). Effects of Concentrated Language Encounter Method in Developing Oracy Skills Among Primary School Pupils in Obudu L.G.A. of Cross River State. Retrieved 9 October 2023, from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3568144