ผลการสอนซินเนคติกส์ร่วมกับรูปแบบ EKKE เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ร่วมกับรูปแบบ EKKE และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ร่วมกับรูปแบบ EKKE รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อผุด จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ร่วมกับรูปแบบ EKKE จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบอัตนัยวัดทักษะการเขียนสร้างสรรค์ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ร่วมกับรูปแบบ EKKE สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยและการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะการเขียนสร้างสรรค์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเขียนสร้างสรรค์ก่อนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 12.13 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเขียนสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 21.37 ซึ่งทักษะการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามรูปแบบการสอนซินเนคติกส์ร่วมกับรูปแบบ EKKE พบว่า มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (𝑥̅=3.59) และความพึงพอใจที่มีค่าสูงที่สุด (𝑥̅=4.20) ได้แก่ นักเรียนมีความสุขกับการเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553ก). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553ข). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรรยา ปิตรัมย์. (2556). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
ชลณิศา ภูมิผักแว่น. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาไทยและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ EKKE กับการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ 4MAT (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2544). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใน 14 วิธีการสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2531). การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ประยูร บุญใช้. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิด 1025305. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาแบบ EKKE สำหรับเด็กเริ่มเรียน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
แววนิภา มณีศรี. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาไทยและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ EKKE (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สัมฤทธิ์ จิวระประภัทร์. (2560). ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจารุวัฒนานุกูลที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์และเรียนรู้ด้วยรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (2562). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.
สินธ์ ศรีพลพา. (2557). การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สุมาลัย หงษา. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ EKKE (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2552). กิจกรรมการเขียนสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Csikszentmihalyi, M. & Wofle, R. (2014). New conceptions and research approaches to creativity: Implications of a systems perspective for creativity. In K. A. Heller, F. J. Monks, R. J. Sternberg, & R. F. Subotnik (Eds.). The Systems Model of Creativity, (pp. 81-93). Amsterdam: Elsevier Science.
Joyce, B., & Weil, M. (1996). Models of teaching (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.