โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด 19 ของโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทการผลิต ภาคตะวันออก ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตอย่างมาก การระบาดยังส่งผลต่อ ระบบสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการและประสิทธิผลของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด 19 ของโรงงานอุตสาหกรรม 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการบริหารจัดการและประสิทธิผลของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด 19 และ3) สร้างแผนภาพเส้นทางและน้ำหนักของตัวชี้วัดสาเหตุของตัวแปรประสิทธิผล ผู้ให้ข้อมูล 380 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงปริมาณ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและเส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรม ลิสเรล
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีการรับรู้ในภาพรวมเกี่ยวกับประสิทธิผลของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด 19 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.31) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า การรับรู้ของพนักงานต่อกิจกรรมการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโควิด 19 และความพึงพอใจของพนักงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยการรับรู้เท่ากับ 4.33 และ 4.30 ตามลำดับ ปัจจัยการบริหารจัดการทุกด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 (KMO=0 .938, df=1.275) โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกด้าน (c2= 86.416, df=75, p-value=0.173, c2/df =1.152, CFI=0.997, GFI =0.973, AGFI=0.951, RMSEA=0.020, RMR=0.003) พบว่า ปัจจัยการจัดสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการองค์การ การมีส่วนร่วม มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด 19 และสามารถพยากรณ์ตัวแปรประสิทธิผลได้ร้อยละ 96.0, 14.0 และ 8.0 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ12 เมษายน 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). คู่มือการจัดทำระบบการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง. กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
กระทรวงแรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2566). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในเขตสุขภาพที่ 6. สืบค้นเมื่อ12 เมษายน 2566, จาก https://www.diw.go.th/webdiw/s-data-fac/
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ12 เมษายน 2566, จาก https://ddc.moph. go.th/covid19-dashboard/
จิรประภา เกิดชา และนิตยา เงินประเสริฐศรี. (2561). การรับรู้ประสิทธิผลองค์การ: ข้อค้นพบจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 188-197.
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 69 ง, หน้า 1.
แพรพรรณ ภูริบัญชา และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติด เชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ของสถานประกอบการ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 48-62.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุธีศักดิ์ ภูษิตากรณ์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสุรีย์ จันทรโมลี (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ การบริหารจัดการสมรรถนะของบุคลากรเพื่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและ ประสิทธิผลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 49-63.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับ การวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคง.
สุรีรักษ์ อจลพงศ์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ และ สุรีย์ จันทรโมลี. (2564). โมเดลสมการโครงสร้างของ ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาต้าน จุลชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 290-306.
อธิปพัฒน์ เดชขุนทด. (2558). อิทธิพลของการจัดการในองค์การมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลบางปะอิน. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 89-100.
Cirrincione, L., Plescia, F., Ledda, C., Rapisarda, V., Martorana, D., Moldovan, R. E., & Cannizzaro, E. (2020). COVID-19 pandemic: Prevention and protection measures to be adopted at the workplace. Sustainability, 12(9), 3603.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s Place in Rural Development: seek clarity through specifics. World Development, (8), 219.