กระบวนการเกิดความเข้มแข็งทางใจ: กรณีศึกษาผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19

Main Article Content

อภิญญา บางพระไทยา
พิชชาดา ประสิทธิโชค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเกิดความเข้มแข็งทางใจของผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 และศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจของผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 และได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 8 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจนกว่าจะได้ข้อมูลที่อิ่มตัว ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการเกิดความเข้มแข็งทางใจของผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 พบลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ 1. การยอมรับต่อการเจ็บป่วย โดยการทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น 2. การจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการต่อสู้กับสถานการณ์ และ 3. การมองโลกในแง่บวก และปัจจัยเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจของผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 พบ 3 เงื่อนไข ได้แก่ ปัจจัยภายในบุคคลที่อธิบายถึงลักษณะเฉพาะของบุคคลที่ทำให้สามารถที่จะข้ามผ่านช่วงเวลานั้นมาได้ ปัจจัยแวดล้อมที่อธิบายถึงสัมพันธภาพและสิ่งที่บุคคลมี และปัจจัยระดับหน่วยงานที่อธิบายถึงการได้รับการสนับสนุนดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางสาธารณสุข และหน่วยงานในพื้นที่/หน่วยงานในท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
บางพระไทยา อ., & ประสิทธิโชค พ. (2024). กระบวนการเกิดความเข้มแข็งทางใจ: กรณีศึกษาผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(2), 242–251. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/273415
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/viral/

กาญจนา นาคปัจฉิมสกุล, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ และสุขอรุณ วงษ์ทิม. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความแข็งแกร่ง ทางจิตใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10(3), 239-254.

ดลฤดี ทับทิม, อังศินนท์ อินทรกำแหง และอรพินทร์ ชูชม. (2563). โปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อพฤติกรรมการให้การดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานของญาติผู้ให้การดูแล: การวิจัยผสานวิธี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 1-16.

ประภาศรี ปัญญาวชิรชัย, และภวมัย กาญจนจิรางกูร. (2565). การศึกษาความเข้มแข็งทางใจ (Resilience Quotient) ของประชาชนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(1), 318-333.

พิไลพร สุขเจริญ, จิดาภา พลรักษ์, และสุรีพร ชุมแดง. (2566). ประสบการณ์ความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุที่ผ่านการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 50(2), 98-111.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-291.

วัจนา สุคนธวัฒน์ และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งทางใจ และแรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในยุคความปกติใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 74-84.

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 124-133.

อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(2), 127-142.

อินเตอร์-เอเจนซี่ สแตนดิ้ง คอมมิทตรี. (2563). มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด COVID-19 [Addressing Mental Health and Psychosocial Aspects of COVID-19 Outbreak] (พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ & แพรว ไตลังคะ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

American Psychological Association. (2020).Resilience.Retrieved April 15, 2023, from https://dictionary.apa.org/resilience

Bronfenbrenner, U. (2005). Making human beings human: Bioecological perspective on human development. Thousand Oaks, California: Sage.

Cantero, C., et al. (2021). Impact of Confinement in Patients under Long-Term Noninvasive Ventilation during the First Wave of the SARS-CoV-2 Pandemic: A Remarkable Resilience. Basic Science Investigations, 909-917. Retrieved April 15, 2023, from https://www.karger.com/Article/FullText/516327

Castro, M. P., & Zermeño, M. G. G. (2020). Being an entrepreneur post-COVID-19 – resilience in times of crisis: a systematic literature review. Journal of Entrepreneurship in Emerging Economies, 13(4), 721-746.

Corner, K., & Davidson, J. (2003). Development of anew resilience scale: The Corner-Davidson Resilience scale (CD-RISC). Depress and axiety, 18(1), 76-82.

Dini, M., et al. (2021). Resilience, Psychological Well-Being and Daily Functioning Following Hospitalization for Respiratory Distress Due to SARS-CoV-2 Infection. Healthcare, 9, 1-13.

Gilson, L., et al. (2020). What role can health policy and systems research play in supporting responses to COVID-19 that strengthen socially just health systems? Health Policy and Planning, 35(9), 1231-1236.

Haldane, V., & Morgan, G. T. (2021). From resilient to transilient health systems: the deep transformation of health systems in response to the COVID-19 pandemic. Health Policy and Planning, 36, 134-135.

Hurley, K. (2020). What Is Resilience? Your Guide to Facing Life’s Challenges, Adversities, and Crises. Retrieved April 15, 2023, from https://www.everydayhealth.com/wellness/ resilience/

Kao, Y.-Y., et al. (2021). Impact on Mental Well-Being and Resilience of Patients with Multiple Chronic Conditions in Different Periods during the Coronavirus Disease 2019 Outbreak in Taiwan. Healthcare, 9(11), 1-10.

Verger, N. B., et al. (2021). Coping in isolation: Predictors of individual and household risks and resilience against the COVID-19 pandemic. Social Sciences & Humanities Open, 3(1), 1-6.

Yildirim, M., & Arslan, G. (2020). Exploring the associations between resilience, dispositional hope, preventive behaviours, subjective well-being, and psychological health among adults during early stage of COVID-19.PsyArXiv. https://doi.org/10.31234/osf.io/ vpu5q10.31234/osf.io/vpu5q