ผลกระทบการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ต่อแรงงานนอกระบบ: การเรียนรู้ที่จะอยู่รอดของกลุ่มวินมอเตอร์ไซต์และกลุ่มคนเย็บผ้าที่บ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการปรับตัวของแรงงานนอกระบบในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มที่ทำงานโดยไม่มีสัญญา/นายจ้างที่แน่นอนและไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดมาตรการล็อคดาวน์ และเกิดชีวิตวิถีใหม่ แรงงานต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด บทความนี้นำเสนอสถานการณ์ก่อนโควิดและการปรับตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดใน 2 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ วินมอเตอร์ไซต์และคนเย็บผ้าที่บ้าน วินมอเตอร์ไซต์ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเป็นรายได้หลักของครอบครัว ในขณะที่คนเย็บผ้าที่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ทำงานอยู่กับบ้านโดยต้องดูแลคนในครอบครัวด้วย ทั้งสองกลุ่มอาชีพมีรายได้ที่ไม่มั่นคง เมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มวินมอเตอร์ไซต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปสู่การส่งอาหารจากแอพลิเคชั่นออนไลน์ได้ ส่วนกลุ่มคนเย็บผ้าที่บ้านหลายรายถูกเลิกจ้างงานและไม่สามารถปรับตัว แม้ว่าภาครัฐจะเข้ามาช่วยอบรมให้ความรู้เรื่องการขายของออนไลน์ แต่คนเย็บผ้าส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคนไม่ชำนาญเทคโนโลยี และยังกังวลต่อรายได้จากการขายของออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อทั่วไป กองระบาดวิทยา. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): มาตรการ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/ uploads/files/2017420210820025238.pdf
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ.2566, จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf
กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2565ก). รายงานผลการจัดทำดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2565ข). รายงานผลการจัดทำดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบและสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
ธนานนท์ บัวทอง และณัฐชานันท์ ไตรวัฒนวงษ์ (2564). บทสำรวจเครือข่าย สถานะองค์ความรู้ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ และแนวปฏิบัติ: กลุ่มอาชีพมอเตอร์ไซต์รับจ้าง (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
นนทกานต์ จันทร์อ่อน. (2556). การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของประเทศไทย. บทความวิชาการ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext5360/5360123_0002.PDF
มยุรี เสือคำราม. (2564). โครงการวิจัยสำรวจสถานการณ์แรงงานนอกระบบกรณีอาชีพผู้ทำการผลิตที่บ้าน (คนเย็บผ้า) (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). (2565). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ.2566, จาก https://media.thaigov.go.th/ uploads/public_img/source/230965.pdf
สถาบันวิจัยสังคม แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2564). สำรวจสถานการณ์แรงงานนอกระบบ: บทสำรวจเครือข่าย สถานะองค์ความรู้ ความเสี่ยง และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักข่าวอิศรา. (2564). กลุ่มผลิตงานที่บ้านขาดรายได้-ไร้การเยียวยา เสนอรัฐเปิดให้ค้าในพื้นที่แซนด์บ็อกซ์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ.2566, จาก https://www.isranews.org/article/isranewsnews/100 100-isranews-covid-la.html
สำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). ความหมายของแรงงานนอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก https://chiangmai.labour.go.th/index.php/2018-10-31-08-11-28/408-2018-10-31-06-38-13
อรวรรณ เกษร. (2563). มาตรการทางกฎหมายกับการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_ link.php?nid=2580
อรวรรณ เกสร. (2566). แรงงานนอกระบบกับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2612
BBC News ไทย. (2564). ฆ่าตัวตาย: ตัวเลขคนไทยปลิดชีพตัวเอง ไต่ระดับขึ้นระหว่างการระบาดของโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-57721370
Coleman, J. C. and Hammen. (1981). Abnormal Psychology and Modern Life. New York: Bombay.
Darwin, C. (1964). On the origin of species: A facsimile of the first edition. Harvard University Press. https://doi.org/10.2307/j.ctvjf9xp5
Dobzhansky, T.H. (1972). Species of Drosophila. Science, 177, 664-669.
O'Brien, M. J., & Holland, T. D. (1992). The role of adaptation in archaeological explanation. American Antiquity, 57(1), 36-59.
Roy, M. (2009) The Impact of Interface on Trust in web Retailers. Internet Research Electronic Networking Applications and Policy, 11(5), 388-398.
TDRI. (2549). การประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม การวัดภาวะความยากไร้และความเปราะบาง สู่แนวทางนำไปปฏิบัติได้ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จากhttps://tdri.or.th/2012/12/h103/