ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

ศรัญญา ไหมแก้ว
อริยา คูหา
มัฮดี แวดราแม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินจังหวัดชายแดนใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความคิดเติบโต ความทรหด และการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินชายแดนใต้ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความคิดเติบโต ความทรหดกับการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินชายแดนใต้ (3) ทำนายการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินชายแดนใต้ ด้วยทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความคิดเติบโต และความทรหด กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานสายงานธนาคารออมสินภาค 18 ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 810 คน ผู้วิจัยใช้โปรแกรม G*Power3.1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 172 คน จึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินเป็นเครื่องมือ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า (1) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความคิดเติบโตและการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินจังหวัดชายแดนใต้อยู่ในระดับมาก และความทรหด อยู่ในระดับปานกลาง (2) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกกับความคิดเติบโต  และการทุ่มเทในงานมีความสัมพันธ์เชิงบวก ระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคิดเติบโตกับการทุ่มเทในงานมีความสัมพันธ์เชิงบวก ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความคิดเติบโต และการทุ่มเทในงานมีความสัมพันธ์กับความทรหดเชิงบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (3) ตัวแปรทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความคิดเติบโต และความทรหดสามารถร่วมกันทำนายการทุ่มเทในงานของพนักงานธนาคารออมสินจังหวัดชายแดนใต้ได้ ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถอธิบายการผันแปรการทุ่มเทในงานได้ร้อยละ 72.60 สามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้


การทุ่มเทในงาน= 0.573 + 0.466*(ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก) + 0.291*(ความคิดเติบโต)+ 0.099**(ความทรหด)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัณฐก ขวัญยืน. (2561). การศึกษาปัจจัยระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การและกระบวนการเกิดการฟื้นคืนสู่สภาวะปกติในการทำงานของพนักงานในธุรกิจประกันวินาศภัย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จตุพร ศรีสองเมือง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานออมสิน สาขาในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จรัมพร โห้ลำยอง และคณะ. (2562). กรอบวิธีคิดในการทำงาน ความสุข และความทุ่มเทในการทำงานของบุคลากรในภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 11-25.

ณภัทธิรา มุ่งธนวรกุล. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนองค์การและวัฒนธรรมองค์การระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ติดอันดับ SET 100 Index (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐธิดา สุวัฒน์เมฆินทร์. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์กรต่อกรอบความคิดแบบเติบโตของพนักงานในองค์กรนวัตกรรม (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตรีทิพย์ ขันตี, และ วาสิตา บุญสาธร. (2562). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานเป็นวิทยากรระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กรณีศึกษาบริษัทรถยนต์ข้ามชาติแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(1), 171-199.

ตาณิกา หลานวงค์ และคณะ. (2564). อิทธิพลของทัศนคติ ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences, 41(2), 77-88.

ธนพจน์ โพสมัคร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างกริท (Grit) ของนักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัญญามาศ ปัญญายิ่ง. (2559). อิทธิพลของทุนทางจิตวิทยาด้านบวก คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจให้คำปรึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นัยนา ปลังกลาง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาและผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของข้าราชการในสังกัดองค์การบริการส่วนจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปรมิศา บุญเกิด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และความตั้งใจในการลาออกโดยมีความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรสื่อในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์คัดสรรแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 42(2), 148-169.

พวงชมพู โจนส์ . (2559). การสร้างกระบวนการทางความคิด (Mindset) สําหรับบุคลากร ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 1-9.

พิชญาภา วงศ์หมัดทอง. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานกรณีศึกษาบุคลากรโรงพยาบาลสงขลา (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภัณฑิรา นรเศรษฐกร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับผลงานการขายประกันชีวิตของพนักงานสาขาธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิษณุ กิตติพงศ์วรการ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการท างานของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สัญชาติ พรมดง. (2562). ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการวิทยาลัยสันติพล, 5(2), 141-152.

จิราวัฒน์ เหลาสุภาพ. (2561). ความตรงและความเชื่อมั่นของมาตรวัดความมั่นหมาย (Grit). วารสารสวนปรุง, 34(3), 21-35.

อริยา คูหา และคณะ. (2564). ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การคิดเชิงอนาคต ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ และการประยุกต์จิตวิทยาเพื่อชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 273-287.

Duckworth, A., & Gross, J. (2014). Self-control and grit: Related but separable determinants of success. Current Directions in Psychological Science, 23(5), 319–325.

Luthans, F., Avolio, B., Avey , J., & Norman, S. (2007). Positive psychological capital: Measurement and relationship with performance and satisfaction. Personnel Psychology, 60(3), 541–572.