การพัฒนาโมเดลการวัดสมรรถนะทางดิจิทัลของครู ในภาคตะวันออก

Main Article Content

สุรีย์พร ศรีวัฒนะ
สโรชา คล้ายพันธุ์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

บทคัดย่อ

สมรรถนะทางดิจิทัลของครู เป็นความสามารถ ทักษะ ความรู้ และทัศนคติ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด และพร้อมรับมือกับสิ่งแปลกใหม่ที่จะเกิดขึ้นในโลกยุคดิจิทัลดิสรัปชัน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดสมรรถนะทางดิจิทัลของครูในภาคตะวันออก โดยศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลของครู ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และการรู้สารสนเทศการสื่อสารและการร่วมมือ การสร้างเนื้อหาดิจิทัล ความปลอดภัย และการแก้ปัญหา ให้มีความสอดคล้องกับสมรรถนะทางดิจิทัลของครูในภาคตะวันออก โดยเก็บตัวอย่างครูภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 243 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน พบว่าผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่าโมเดลการวัดสมรรถนะทางดิจิทัลของครูสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2=274.38, df = 151, x2/df = 1.82, p = 0.00, RMR = 0.043, RMSEA = 0.058) และผลการตรวจสอบความเที่ยงทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ .98 และองค์ประกอบย่อย มีค่าเท่ากับ .60, .67, .76, .77 และ .80 ตามลำดับ มีความตรงและความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ดี มีความน่าเชื่อถือ  

Article Details

How to Cite
ศรีวัฒนะ ส. ., คล้ายพันธุ์ ส., & ปั้นหุ่น ส. (2024). การพัฒนาโมเดลการวัดสมรรถนะทางดิจิทัลของครู ในภาคตะวันออก. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(2), 231–241. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/271679
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้: กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติพศ โกนสันเทียะ. (2565). สมรรถนะดิจิทัล: สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(22), 15-16.

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 47. หน้า 5-6.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). หนังสือเวียน ที่ ศธ.0206.7/ว4 เรื่อง การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทเจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

McGarr, O. M., Louise Colomer Rubio, Juan Carlos. (2021). Digital competence in teacher education: comparing national policies in Norway, Ireland and Spain. Learning, Media and Technology, 46(4), 483-497.

Rima Aditya, B., Ferdiana, R., & Suning Kusumawardani, S. (2021). Digital Transformation in Higher Education: A Barrier Framework. International Conference on Modern Educational Technology (3rd ed), 100-106.

Rosmia, A. R., & Suziani, M. (2019). Digital Literacy in the Use of Technology-based Information System. International Conference on Educational Sciences (2nd ed), 11-13.

Sánchez-Cruzado, C., Santiago Campión, R., & Sánchez-Compaña, M. T. (2021). Teacher digital literacy: The indisputable challenge after COVID-1. Sustainability, 13(4), 18-58.

Skantz-Åberg, E., Lantz-Andersson, A., Lundin, M., & Williams, P. (2022). Teachers’ professional digital competence: an overview of conceptualisations in the literature. Cogent Education, 9(1), 206-224.