รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพตามแนวคิดแบบ SMART School Model ของโรงเรียนเทศบาลท่าตูม

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ อินทร์สอน
อดิศร ศิริ
นภาภรณ์ ธัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา และ4) ประเมินรับรองคุณภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพตามแนวคิดแบบ SMART School Model ของโรงเรียนเทศบาลท่าตูม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 73 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลท่าตูม ซึ่งเลือกด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลจากการการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 151 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนได้เสีย พบว่า มีระดับสภาพที่เป็นจริง โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.74) (2) ผลสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา ด้วยกระบวนการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน นำไปสู่รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการเป็นโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความเป็นเลิศของผู้บริหาร องค์ประกอบที่ 2 ความเป็นเลิศของครู องค์ประกอบที่ 3 ความเป็นเลิศของนักเรียน และองค์ประกอบที่ 4 ความเป็นเลิศของสิ่งแวดล้อม และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.70) (3) ผลทดลองการใช้รูปแบบ พบว่า ด้านการบริหารของโรงเรียนเทศบาลท่าตูม ในภารงาน 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากในทุก ๆ ด้าน  และ (4) ผลการประเมินรับรองคุณภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และอรรถประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.18)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิรดา เวชญาลักษณ์.(2563). การประยุกต์ใช้ TQM ในการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: วนิดา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2542). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. วิธีวิทยาการวิจัย, 12(2), 1-14.

พัฒนา พรหมมณี. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์). วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 128-135.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

วิทยา จันทร์ศิลา. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ์.

วลินดา รสชา. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาควบรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อดิศักดิ์ ก่ำเชียงคำ.(2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อนันต์ ทองชันลุก. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพและตำแหน่ง สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1614231848_6214830029.pdf

อรสา ทรงศรี. (2558). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Brounds, G., Yorks, L., Adams, M., & Ranney. (1994). Total quality management. New York: McGraw-Hill.

Crosby, P. (1980). Quality is Free. New York: Penguin Books.

Cumming, T.G., & Worley, C.G. (2013). Organization development and change (10th ed.). USA.: Cengage Learning.

De Cenzo, D.A.& Bobbins, S.P. (1996). Human Resource Management. 5thed. New York: John wiley & Sons.

Downey, C.J., Frase, L E., & Peter, J.J. (1994). The Quality Education Challenge. California: Crowin Press.

Kaufman, R., & Zahn, D. (1993). Quality Management Plus. California: Corwin p.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Keefe, W.J. (1994). Leadership in middle level education. N.P.: Virginia National.

Keeves, P.J. (1997). Educational research methodology and measurement: An international handbook. Oxford, England: Pergamon.

Mathis, R. L., & Jackson, J.H. (1999). Human resource management. 9thed. Alabama: South-Western College.

Murgatroyd, Stephen & Morgan, Colin. (1993). Quality management and the school. Buckingham: Open University Press.

Oakland, J.S. (1989). Total quality management. London: Butterworth-Heinemann.

Oakland, J.S. (1989). Total Quality Management. 2nded. Oxford: Butterworth-Heinemann.

Rodger, C.G. (1999). Teacher participants of total quality management practices inlementary school. Dissertation Abstracts International, 30(7), 3709A-3710A.

Sashkin, M., & Kiser, K. J. (1993). Total Management to work. Sanfrancisco: Berrett-Kohler.

Smith, R.H. (1980). Management: Making organization perform. New York: MacMillan.